วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มอเตอร์ไซค์พลังมูลสัตว์

โตโต ผู้ผลิตสุขภัณฑ์ยักษ์ใหญ่แห่งญี่ปุ่น เปิดตัวรถจักรยานยนต์สามล้อ ที่เรียกได้ว่าเป็นยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยพลังงานมูลสัตว์เป็นคันแรกของโลก ที่สามารถแล่นได้เป็นระยะทางไกลถึง 300 กิโลเมตร
     จักรยานยนต์สามล้อหน้าตาเหมือนกับสุขาเคลื่อนที่ และติดกระดาษชำระม้วนใหญ่บนถังเชื้อเพลิงไว้ด้านหลัง มีชื่อเรียกว่า ทอยเล็ต ไบค์ นีโอ
          แต่ขณะที่นางแบบสาวก้าวขาขึ้นคร่อมที่นั่ง ซึ่งทำเป็นโถสุขภัณฑ์ เพื่อสาธิตวิ่งในเขตโอมิยะ ชานกรุงโตเกียวเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ทางโฆษกบริษัทฯ รีบทำความเข้าใจว่า นางแบบสาวสวยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับก๊าซชีวภาพที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง แต่เป็นสิ่งปฏิกูลจากปศุสัตว์ล้วนๆ ไม่มีของคนรวมอยู่ด้วย
          ส่วนที่ผลิตจักรยานยนต์คันนี้ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นผู้บริโภคว่าบริษัทเน้น พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ฝักบัวประหยัดน้ำ หรือห้องสุขาประหยัดน้ำ
          อย่างไรก็ดี โตโต ผู้ผลิตห้องสุขาติดอุปกรณ์ลูกเล่นสารพัด อาทิ ที่นั่งทำความร้อน ระบบฉีดล้างด้วยแรงดันและควบคุมอุณหภูมิ และดนตรีประกอบเพื่อความรื่นรมย์ ไม่มีแผนจะผลิตจักรยานยนต์พลังมูลสัตว์เพื่อการค้า


--------------------
(เวิลด์วาไรตี้ : มอเตอร์ไซค์พลังมูลสัตว์)

http://www.komchadluek.net/detail/20120901/139036/มอเตอร์ไซค์พลังมูลสัตว์.html#.UEFUqyKwUp4

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

โรงไฟฟ้าสหกรณ์มีรายได้ปีละ 50 ล้าน

โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก สหกรณ์การเกษตรวานรนิวาส จำกัด ณ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นโรงไฟฟ้าที่เกิดจากปัญหาวิกฤติพลังงาน และภาวะราคาน้ำมันที่แพงขึ้นในปัจจุบัน จำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้พลังงานในอนาคต โดยการหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ ๆ ที่มีต้นทุนต่ำ เช่น เศษวัสดุด้านการเกษตร วัสดุเหลือใช้ ยางรถยนต์เก่า และขยะพลาสติก เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาต้นทุนด้านพลังงานแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งทางสหกรณ์การเกษตรวานรนิวาส จำกัด ได้ร่วมกับบริษัทมาชูคอนซัลแตนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก โดยนำวัสดุเหลือใช้ อาทิ ยางรถยนต์เก่า และขยะพลาสติก มาใช้ในการผลิตน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีมลภาวะที่น้อยมาก พร้อมทั้งจะจัดจำหน่ายเชื้อเพลิงราคาถูกให้แก่สมาชิกของสหกรณ์ฯ นอกจากนี้ ในส่วนของพลังงานซึ่งเหลือและถูกใช้ไม่คุ้มค่า ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซ ก็จะนำกลับมาสร้างประโยชน์และเพิ่มมูลค่า โดยนำมาผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของกระทรวงพลังงาน อันจะส่งผลให้สหกรณ์มีรายได้จากการขายไฟฟ้าอีกปีละประมาณ 50 ล้านบาท ทั้งนี้สหกรณ์การเกษตรวานรนิวาส จำกัด ได้ใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 104 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการก่อสร้างเฟสแรกในส่วนหน่วยผลิตเชื้อเพลิงเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถผลิตน้ำมันได้วันละประมาณ 3,000 ลิตร และจะดำเนินการก่อสร้างในส่วนของโรงไฟฟ้าต่อไป. http://www.dailynews.co.th/agriculture/22887

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

โครงการสาหร่ายให้พลังงาน

เมื่อพูดถึงวิกฤติที่โลกใบนี้จะต้องเผชิญในอนาคต คงไม่มีใครปฏิเสธว่า “พลังงาน” ดูจะเป็นประเด็นแรก ๆ ที่มักจะถูกนึกถึงก่อนเสมอ พอ ๆ กับที่จะต้องนึกถึงวิกฤติด้านอาหาร และวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม ความจริงความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติพลังงานไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะหลายประเทศในโลกได้พยายามคิดค้นหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ กันมานานแสนนานแล้ว รวมทั้งในประเทศไทยด้วย อาทิ โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการวิจัยไบโอดีเซลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้เมื่อกว่า 30 ปีก่อน เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะทั่วโลกต่างตระหนักดีว่า “น้ำมันดิบ” จะต้องมีวันหมดสิ้นไป ดังนั้นถ้าจะบอกว่าทุกการค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนล้วนแต่เป็นความหวังของมนุษยชาติก็คงไม่ผิดนัก ใครมีแรงมีความคิดสร้างสรรค์จะทำอะไรก็ทำไป หลายคนคิดย่อมดีกว่าคนเดียวคิดอยู่แล้ว

เหมือนอย่างที่คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ได้ทำวิจัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับการนำสาหร่ายน้ำเค็มมาพัฒนาเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต
ดร.วศิน ยุวนะเตมีย์ คณบดีคณะเทคโนโลยีทางทะเล มองว่า ทะเลตอบโจทย์ได้หลายอย่าง ซึ่งรวมถึงเรื่องของพลังงานด้วย โดยการวิจัยจะมุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ โดยเฉพาะสาหร่ายทะเลประเภทจุลสาหร่าย หรือสาหร่ายที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่มีปริมาณที่มากกว่าสาหร่ายน้ำจืด ซึ่งจากการเก็บตัวอย่างในพื้นที่จันทบุรีได้มากว่า 30 สายพันธุ์ก็พบว่ามีถึงกว่า 20 สายพันธุ์ที่มีศักยภาพด้านพลังงานอย่างแน่นอน

“ผมขอบอกเลยว่าเราอย่าไปดูถูกพลังงานจากพืช อย่าลืมว่าน้ำมันดิบก็มาจากซากพืชที่ทับถมกันมาเป็นล้าน ๆ ปี แม้แต่วาฬก็ยังกินสาหร่ายจนตัวใหญ่โตได้ เราก็น่าจะวิจัยหาวิธีย่นระยะเวลาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้เร็วขึ้น ซึ่งจากเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่น่าใช้เวลานานคงได้คำตอบ โดยเริ่มจากสาหร่ายทะเล ซึ่งผมตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 6 เดือนนับจากนี้จะต้องได้คำตอบว่าสาหร่ายทะเลสายพันธุ์ใดมีศักยภาพสูงเป็น 5 อันดับแรก หรือท็อปไฟว์ในเรื่องนี้ ทั้งนี้ความฝันสูงสุดของผมคือการสกัดสาหร่ายทะเลเพื่อผลิตเป็นน้ำมันเครื่องบินเจ๊ตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ดร.วศิน กล่าวอย่างมุ่งมั่น

ในขณะที่ ดร.มะลิวัลย์ คุตะโคหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากสาหร่ายทะเล เล่าว่า ทางโครงการได้เริ่มวิจัยตั้งแต่ปลายปี 2552 ขณะนี้สามารถค้นพบวิธีเพาะเลี้ยงสาหร่ายในห้องปฏิบัติการที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงได้แล้ว และกำลังพัฒนาระบบต้นแบบอุปกรณ์เก็บเกี่ยวสาหร่ายให้ได้ในปริมาณมาก ๆ เพื่อนำมาสกัดให้ได้ไขมัน หรือครู้ดออยล์ (crude oil) และพัฒนาต่อไปให้กลายเป็นไบโอดีเซล ซึ่งแม้หลายประเทศจะมีการวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายพลังงาน แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครสามารถทำได้ในเชิงธุรกิจ

“การทำวิจัยเรื่องนี้ถ้าจะว่าไปแล้วต้องบอกว่า มนุษย์ไม่มีสิทธิเลือกสาหร่าย แต่สาหร่ายจะเป็นฝ่ายเลือกเรามากกว่า ดังนั้นการวิจัยเรื่องนี้อย่างน้อยก็เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่สังคมได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาลของสาหร่าย” ดร.มะลิวัลย์ กล่าว น.ส.ฉัตรสุดา คงเพ็ง นิสิตปี 3 คณะเทคโนโลยีทางทะเล ที่ได้ร่วมโครงการวิจัย เล่าอย่างตื่นเต้นว่า ภูมิใจมากที่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและโลกอนาคต ซึ่งโดยส่วนตัวก็มั่นใจว่าจะสามารถนำสาหร่ายมาทำเป็นน้ำมันได้อย่างแน่นอน

มาถึงตรงนี้ก็คงต้องช่วยให้กำลังใจกัน เพราะสิ่งที่คณะเทคโนโลยีทางทะเล ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี กำลังทำอยู่นี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ และยังเป็นการตอกย้ำอีกครั้งให้เราทุกคนได้ตระหนักว่า “ทะเล” มีความสำคัญต่อมนุษย์มากมายเพียงใด.

http://www.dailynews.co.th/citizen/14508

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

กรุงเทพ เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานสะอาด

กรุงเทพมหานคร ลุยแปลงขยะเป็นพลังงานตั้งเป้าเหลือขยะฝังกลบ10%
นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที)เปิดเผย ถึง โครงการ เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานสะอาด ว่า โครงการดังกล่าวนั้น เป็นโครงการที่จะทำการรีไซเคิลขยะ หรือนำขยะที่ กรุงเทพมหานคร(กทม.)จัดเก็บได้วันละประมาณ 8,000-9,000 ตัน มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้เหลือขยะตกค้างน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยบริษัทจะเป็นเป็นผู้ลงทุนเอง ประมาณ 1,600-2,000 ล้านบาท โดยในส่วนของขยะที่ทำการรีไซเคิลได้ก็นำมาคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนขยะที่เป็นอาหารของสด หรือสิ่งที่หมักให้เกิดแก็ส ได้ ก็จะมีกระบวนการหมักเพื่อให้เกิดแก๊ส เพื่อเปลี่ยนเป็นเพลังงานไฟฟ้าสะอาด ซึ่งสามรถนำมาใช้ในกิจการของ กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เป็นการประหยัดงบประมาณได้อีกด้วย ส่วนที่เหลือจะทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารเพิ่มคุณภาพดิน และในที่สุดแล้วจะเหลือขยะเพียง ร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพื่อให้บริษัทที่รับสัมปทานนำไปฝังกลบตามรูปแบบที่ดำเนินการ ทั้งนี้ในอนาคตนั้นจะมีการพัฒนาพลังงานดังกล่าว เพื่อให้สามารถกลายเป็นก๊าซที่ใช้เติมรถยนต์ได้อีกด้วย ก็จะสามรารถลดปริมาณการใช้น้ำมันได้ ซึ่ง เคทีจะเจรจากับ กทม.เพื่อให้บริษัทที่รับสัมปทานขนขยะของ กทม.ให้ทำการป้อนขยะเข้าสู่ระบบให้เคที เพื่อดำเนินการ เนื่องจาก เคทีไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบในการขนถ่ายขยะเอง

นายอมร กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานสะอาด ของ กทม.นั้น จะเป็นต้นแบบการบริหารจัดการเมืองด้วยวิธีการสมัยใหม่ ที่จะเป็นแบบอย่างให้จังหวัดอื่น ๆ ห รือเมืองอื่น ๆนำไปใช้ เพื่อมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

http://www.dailynews.co.th/thailand/5958

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

เปิดแนวคิดด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใหม่กับเรือพลังไฟฟ้า"ทูรานอร์ แพลเนตโซลาร์"

ชาวยุโรปได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีแนวคิดด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้มแข็ง มากที่สุดในโลก และมีเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนก้าวหน้าที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน

จึงไม่แปลกใจเลยที่ชาวยุโรปกลุ่มหนึ่งจะมีแนวคิดในการ เปิดพรมแดนใหม่ในการเดินเรือด้วยเรือพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในโลก เพื่อรณรงค์ให้ชาวโลกมีสำนึกถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประกาศศักดาแห่ง การเป็นผู้นำเทคโนโลยีสีเขียว

เรือลำดังกล่าวมีชื่อว่า "ทูรานอร์ แพลเน็ตโซล่าร์" เป็นเรือแบบ 3 ลำตัว ความยาว 31 เมตร และติดแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพื้นที่ 530 ตารางเมตร เพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนและป้อนระบบควบคุมการเดินเรือ โดยมีจุดหมายการเดินทางรอบโลกเริ่มต้นจากประเทศโมนาโกไปยังประเทศต่างๆ ก่อนที่จะกลับไปยังทวีปยุโรปอีกครั้ง โดยเริ่มต้นการเดินทางเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 และหลังจากที่ใช้เวลาเดินทาง 4 เดือน เรือทูรานอร์ ก็เดินทางถึงหมู่เกาะกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์

นายราฟาเอง ดอมแจน ผู้ก่อตั้งโครงการแพลเนท โซลาร์ เปิดเผยว่าเรือลำนี้เป็นโอกาสในการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับความจำเป็นใน การที่จะต้องมีการใช้พลังงานทางเลือกให้แพร่หลายมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะปัจจุบันเราก็มีเทคโนโลยี และแหล่งพลังงานดังกล่าวอยู่แล้ว สำหรับตัวเขานั้น พยายามที่จะแสดงให้โลกเห็นว่าในทุกวันนี้ เราทำอะไรได้บ้าง

การเดินทางถึงเกาะกาลาปากอส ของเรือทูรานอร์ แพลเน็ตโซลาร์ เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากเกาะกาลาปากอสที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเอกวาดอร์ถึง 1 พันกิโลเมตร และมีชื่ออย่างมากจากการเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่มีที่ ไหนเหมือน ทำให้มันเป็นแรงบันดาลใจสำหรับชาร์ลส์ ดาร์วิน ในการสร้างทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ขณะที่เรือทูรานอร์ แพลเน็ตโซลาร์ เป็นยานพาหนะแห่งอนาคตที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องสภาพแวดล้อมที่ยัง บริสุทธ์เช่นเกาะกาลาปากอสจากความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ต่อไป

http://www.komchadluek.net/detail/20110205/87942/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลุกพลังไทย ร่วมใจรักษ์พลังงาน

ไม่ใช่เรื่องใหม่หากจะบอกว่าเวลาเข้าไปชมภาพยนตร์ในโรงหนังแล้วต้องพร้อมใจ กันยืนแสดงความเคารพเมื่อบทเพลงสรรพเสริญพระบารมีดังขึ้น ทว่าที่ผ่านมาเรื่องราวพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สื่อ ออกมามักนำเสนอโดยภาพรวม งานนี้กระทรวงพลังงานอยากให้คนไทยร่วมสำนึกและชื่นชมในพระอัจริยภาพด้าน พลังงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเปิดตัวโครงการพลังความสุขจากพ่อของแผ่นดิน ในรูปแบบภาพยนตร์เทิดพระเกียรติชุด "พระเจ้าอยู่หัวกับพลังงานทดแทน" ประกอบเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉายทุกโรงภาพยนตร์



ในฐานะที่ปรึกษากระทรวงพลังงาน สุวัจน์ ลิปตพัลลภ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการนำเสนอให้คนไทยได้ชื่นชมในพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพด้านพลังงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มคิดค้นเรื่องพลังงานทดแทนตั้งแต่ยังไม่มีวิกฤติพลังงาน แต่ด้วยพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลซึ่งทรงเล็งเห็นว่าวันข้างหน้าเรื่องพลังงานจะทวีความสำคัญขึ้นตามความเจริญของประเทศจึงทรงวางแนวทางด้านพลังงานไว้

"แนวพระราชดำริของพระองค์ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานอย่างยั่งยืนแล้ว ยังช่วยยกระดับสินค้าเกษตรที่นำมาใช้เป็นพลังงานทด แทนจำพวก ไบโอดีเซล แก๊สโซฮอลล์ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ได้ 4-5 เท่า สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าโลกจะอยู่รอดได้ต้องเลี่ยงพลังงานที่ เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งบทเรียนที่ญี่ปุ่นมีให้เห็นมาแล้ว นับจากนี้ต้องเลือกพลังงงานทดแทนเท่านั้น ซึ่งในภาพยนตร์คนไทยจะได้เห็นและร่วมชื่นชมในพระอัฉริยภาพดังกล่าว" หัวเรือใหญ่ กล่าว

ภายในงานแถลงข่าวบริเวณอินฟินิตี้ฮอลล์ พารากอน ซินิเพล็กซ์ ยังมีกิจกรรม "แซ่ซ้อง...ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี" เชิญ 84 คนดังจากทุกภาคหน่วยงานต่างๆ มาร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่ง "ไข่มุก" ชุติมา ดุรงค์เดช มิสไทยแลนด์ ยูนิเวิร์ส ปี 2552 บอกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางแนวทางการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทด แทนไว้หลายโครงการ รู้สึกประทับใจที่พระองค์ทรงมีพระวิสัยทัศน์ไกลที่คนธรรมดาอาจคิดไม่ถึง จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยร่วมกัยสนองแนวพระราชดำริพลังงานอะไรที่ประหยัดได้ก็ควรทำ

ขณะ ที่ "ป๊อป" วราวุธ เลาหพงศ์ชนะ เล่าว่าตั้งแต่เด็กๆ ก็ได้เห็นความมีวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อยมา โดยเฉพาะด้านพลังงานทรงใช้ธรรมชาติเพื่อดูแลธรรมชาติ อย่างพืชพลังงานทดแทนก็มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง

"เชื่อ ว่าทุกคนตระหนักว่าโลกร้อน แล้วหันมาใส่ใจอย่างจริงจัง ที่สำคัญคนเดียวคงทำได้ยาก ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม เพราะโลกใบนี้เป็นของทุกคน หากช่วยกันแล้วจะไม่มีค่ำว่าสายเกินแก้" หนุ่มหัวใจรักษ์พลังงาน ทิ้งท้าย

น่าเสียดายพลังชีวมวล

ได้ เห็นคนไทยมีความสุข ผมก็สุขตามไปด้วยครับ แม้ว่าในอนาคตข้างหน้า ยังไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับบ้านเมือง ทั้งปัญหาการเมือง ภัยธรรมชาติ และความขัดแย้งของคนในชาติที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้

ครับ... ผมได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ “พลังงานไฟฟ้า” ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญกับการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาวะปกติและในภาวะคับขัน โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นจาก “มหาอุทกภัย” เลยขออนุญาตนำมาถ่ายทอด เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เตรียมหาทางออก หากอนาคตข้างหน้าเกิดปัญหาพลังงานไฟฟ้าขาดแคลน ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเราขาดไฟฟ้าซัก 1 ชั่วโมง จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตคนเรา

หากย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว พม่าหยุดส่งก๊าซให้ “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)” เนื่องจากท่อส่งก๊าซรั่ว กฟผ.ต้องแก้ปัญหา โดยการปล่อยน้ำใน เขื่อนศรีนครินทร์ มาผลิตไฟฟ้าแทน ส่งผลให้น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ท้ายเขื่อนได้รับความเสียหาย ที่มาของปัญหาเกิดจากการพึ่งพา “ก๊าซธรรมชาติ”จากพม่า นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ในสัดส่วนที่มากเกินไปนั่นเอง

ดังนั้นการเลือกใช้ เชื้อเพลิงที่หลากหลายชนิด ในสัดส่วนที่เหมาะสมไม่เยอะเกินไป ไม่ว่าจะเป็นพลังงานน้ำจาก เขื่อน ถ่านหิน ชีวมวล ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา เวลาเกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุอื่นที่ไม่คาดคิดที่ส่งผลกระทบ ก็หันไปเลือกใช้โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง ที่ไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนการเลือกใช้รูปแบบใดขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ ความจำเป็น และความเหมาะสม ก็นับเป็นการกระจายความเสี่ยง สร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ของประเทศได้เช่นเดียวกัน

การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันของไทย การให้ความสำคัญกับพลังงานชีวมวลก็เป็นอีกทางเลือกที่ควรสนับสนุน โดยเฉพาะ โรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ใช้ “พลังงานชีวมวล” ชีวมวลที่ว่า ก็คือสารอินทรีย์ที่ได้จากพืชและสัตว์ ทั้งในรูปที่อาจจะเป็นของเสียไม่มีประโยชน์ เช่น เศษไม้ ขยะ หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แกลบ พวกกากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ฯลฯ

ทุกวันนี้โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง มากกว่าร้อยละ 70 ขณะที่โรงไฟฟ้าชีวมวล มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงไฟฟ้าชีวมวลไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เพราะ กฟผ.รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้โครงสร้างราคาอ้างอิงจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) จำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก

ทั้ง ๆ ที่ราคาก๊าซจากท่อ ปตท. ไม่ใช่ราคาที่สะท้อนราคาจริงตามตลาด แต่เป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึงร้อยละ 20 ทำให้ราคารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึงร้อยละ 20 ทำให้ราคารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลของ กฟผ.มีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง จึงยากที่ใครจะกล้าลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล

ได้รับรู้ถึงวิธีการที่นำมาสู่กระบวนการผลิต “พลังชีวมวล” ผมขอสนับสนุนโครงการนี้เต็มที่ครับ ยิ่งองค์ประกอบสำคัญที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ คือ เศษไม้ ขยะ หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งสิ่งของเหล่านี้บ้านเรามีอย่างเหลือเฟือ หลังจาก “มหาอุทกภัย” เพิ่งผ่านพ้นไป แม้ว่าทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ พยายามจัดเก็บขยะในรูปแบบต่าง ๆ แต่ดูเหมือนว่าเราเห็นสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ยังค้างอยู่ในที่สาธารณะ อีกเป็นจำนวนมาก

น่าเสียดายครับ หากเร่งทำ “พลังชีวมวล” ผมว่าขยะที่เกิดภายหลังน้ำท่วม กลายเป็น “สินทรัพย์” มีมูลค่าเพิ่มไปในทันที พอจะมาผลักดันโครงการพลังงานทดแทนในช่วงนี้ จะเข้าสำนวน ’กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้“ หรือเปล่าครับ

หรืออย่างกรณี กฟผ.รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ต่ำกว่าความเป็นจริง ก็ต้องคุยกันให้ชัดเจนว่า ราคาเท่าไหร่จึงมีความเหมาะสม ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่ปัญหามีไว้ให้หนี

อย่าลืมว่าในอนาคต บ้านเราต้องพัฒนาไปในทุก ๆ ด้านการใช้พลังงานก็ต้องเพิ่มตามไปด้วย ดูอย่างกรณีก๊าซเอ็นจีวีซิครับพอพม่ามีปัญหาเรื่องจัดส่งให้ ก็เกิดภาวะขาดแคลนขึ้นในประเทศไทยทันที เรื่องดี ๆ มีประโยชน์ ต้องเร่งผลักดันครับ ง่ายกว่า แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นไหน ๆ.

http://www.dailynews.co.th/article/5/5742

นักวิจัยสบู่ดำม.เกษตรคว้าทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่16 ธ.ค.ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เทเวศร์ มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มอบทุนศาสตราจารย์ สวทช.หรือ NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554 จำนวน 20 ล้านบาท ให้แก่ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ นักวิจัยจากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหาร สัตว์” โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ผู้อำนวยการ สวทช. และ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมในการแถลงข่าวและมอบทุน


ดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่า โครงการทุน NSTDA Chair Professor หรือศาสตราจารย์ สวทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้าง “ศาสตราจารย์ผู้นำกลุ่ม” ที่เป็นผู้ทำงานภาควิชาการ พัฒนา และเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการ สนับสนุนและผลักดันให้นักวิจัยที่มีความสามารถสูง สามารถทำงานวิจัย และผลิตผลงานที่มีศักยภาพเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะเป็นการยกระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยต่อไป


โดยในปีนี้คณะกรรมการได้พิจารณามอบทุนให้แก่ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และคณะทำงานวิจัย จากม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งเสนอโครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหาร สัตว์” เนื่องจากเป็นการพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำในรูปแบบที่ไม่มีทีมวิจัยที่ใดในโลกริ เริ่มทำมาก่อน นั่นก็คือสร้างสบู่ดำสายพันธุ์ใหม่ให้สามารถใช้ข้อเด่นของพืชชนิดอื่นๆ ที่นำมาทดลองร่วมได้ อาทิ ละหุ่ง ซึ่งมีผลออกเป็นช่อ เก็บเกี่ยวง่าย, สบู่แดง ซึ่งทนฝน หรือ หนุมานนั่งแท่น ซึ่งให้ปริมาณน้ำมันมากเมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดของผล


ด้าน ศ.ดร.พีระศักดิ์ กล่าวว่า สบู่ดำเหมาะที่จะนำมาเป็นพืชพลังงาน เพราะคนบริโภคไม่ได้ ราคาจึงยังถูกและไม่ผันผวนตามสภาวะขาดแคลนอาหารเหมือนพืชพลังงานประเภทอื่นๆ ดังนั้นหากสามารถวิจัยปรับปรุงพันธุ์จนได้สบู่ดำที่เหมาะกับการเป็นพืช พลังงานอย่างแท้จริง คือ เก็บเกี่ยวง่าย ให้ผลผลิตสูงและผลออกพร้อมกัน ประเทศไทยและโลกก็จะได้สบู่ดำสายพันธุ์ใหม่เป็นพลังงานทดแทนที่มีคุณค่า มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้คาดว่าภายใน 3ปีจะสามารถพัฒนาให้สบู่ดำมีคุณสมบัติที่ไม่เคยมีมาก่อนได้คือ การทนน้ำท่วม และมีสารพิษน้อยลง ส่วนระยะต่อไปจะเป็นการพัฒนาเพื่อให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและสามารถเก็บ เกี่ยวพร้อมกันได้


ทั้งนี้ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ถือเป็นผู้ที่อุทิศตนให้กับงานวิจัยและสร้างผลงานด้านพันธุศาสตร์และการปรับ ปรุงพันธ์พืชมากที่สุดผู้หนึ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลถั่ว ให้มีความต้านทานต่อโรคพืชและแมลง ผลงานวิจัยของท่านนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อวงวิชาการด้านการปรับ ปรุงพันธุ์พืช และได้รับยกย่องให้เป็น “นักปรับปรุงพันธุ์ดีเด่น” จากสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย คณะกรรมการมอบทุน NSTDA Chair Professor จึงมีความเชื่อมั่นว่างานวิจัยนี้จะทำให้วงการวิจัยพืชพลังงานของโลกก้าว หน้าไปอีกขั้นหนึ่ง

http://www.dailynews.co.th/technology/3400

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ยานยนต์ที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เปิดฉากปี 2555 ด้วยงานระดับชาติที่ยิ่งใหญ่อลังการ งานบีโอไอแฟร์ 2011 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “รวมพลังน้ำใจ โลกสดใส ไทยยั่งยืน” มีขึ้นระหว่าง 5-20 ม.ค. มีผู้ลงทุนระดับแถวหน้าของเมืองไทยเข้าร่วมงานมากหน้าหลายตาถึง 84 พาวิลเลียน หากมีโอกาสได้เข้าไปชมงาน ไม่ควรพลาดชมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งในแต่ละพาวิลเลียนล้วนตื่นตาตื่นใจเฉกเช่นเดียวกับงานระดับโลกในต่าง ประเทศ

เริ่มต้นทัวร์ชมที่โตโยต้า พาวิลเลียน ที่สื่อถึงการสร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีเทคโนโลยีก้าวล้ำแห่งโลกยานยนต์ คือ “วี” พาหนะส่วนบุคคลแบบพกพา ใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและน้ำหนักเบา ออกแบบตามสัดส่วนร่างกายมนุษย์ ควบคุมการขับขี่โดยการยืนและสามารถพับเก็บให้มีขนาดเท่ากับกระเป๋าเดินทาง ด้านรถยนต์นัั้นมีโชว์ พริอุส ซี รถยนต์ต้นแบบไฮบริดขนาดเล็ก และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เชื่อมต่อเทคโนโลยีในโลกอนาคต การจัดสรรการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พริอุส ปลั๊ก อิน, ระบบโตโยต้า สมาร์ท จีบุ๊ก

ด้านมิตซูบิชิ อยู่ภายใต้แนวคิด “ชีวิตอัจฉริยะด้านพลังงาน” โดยการนำเสนอวิถีความรู้และการใช้ชีวิตด้วยยนตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อม ให้ความรู้เกี่ยวกับยานยนต์ของมิตซูบิชิที่เลือกใช้พลังงานทางเลือกได้หลาย รูปแบบ ทั้งแบบที่พึ่งพาตนเองด้วยผลผลิตทางการเกษตร และสามารถสัมผัสประสบการณ์จริงด้วยการทดลองขับรถพลังงานไฟฟ้า ไอ-มีฟ

ฝั่งนิสสันจัดแสดงเทคโนโลยียานยนต์ไร้มลพิษ ซีโร อีมิสชั่น มีทั้งรถพลังงานไฟฟ้าต้นแบบ นิสสัน พิโว และนิสสัน ทาวน์ พอด เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจวิสัยทัศน์การพัฒนารถยนต์ที่ปล่อยไอเสียเป็นศูนย์ และรถยนต์ที่จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ คือ นิสสัน ลีฟ ซึ่งในงานนี้ได้เปิดให้ผู้โชคดี 100 คนแรกที่ลงทะเบียนสามารถทดลองขับได้ด้วย

ฮอนด้า พาวิลเลียนมีเทคโนโลยียานยนต์สีเขียว มีทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์อเนกประสงค์รุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนโลกอนาคตให้ เต็มไปด้วยสีเขียว และอากาศบริสุทธิ์ เช่น ฮอนด้า แจ๊ซ ไฮบริด, ฮอนด้าซีอาร์-แซด ไฮบริด เป็นต้น


สุดท้ายของทัวร์ คือ เชฟโรเลต พาวิลเลียน ใช้แนวคิด “พลิกโลกอนาคตสู่การขับเคลื่อนรักษ์สิ่งแวดล้อม” พบกับ เชฟโรเลต โวลต์ และ อีเอ็น-วี ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งความประหยัด นวัตกรรมอนาคตเหล่านี้แค่เรียกน้ำย่อย ถ้าจะให้เต็มอิ่มจุใจต้องไปชมสัมผัสของจริงจะอิ่มเอมกว่านี้.

http://www.dailynews.co.th/article/1546/6469

แปลงขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมัน

ในแต่ละวันประเทศไทยมี “ขยะพลาสติก” มากถึง 6 พันตัน หรือปีละ 2.4 ล้านตัน และนับวันขยะพลาสติกเหล่านี้จะยิ่งกองทับถมสูงขึ้นเรื่อย ๆ และจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ ทำให้ขยะพลาสติกมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ปัญหาหนึ่งของการกำจัดขยะคือการไม่มีพื้นที่ฝังกลบเพียงพอ เนื่องจากขยะพลาสติกย่อยสลายยาก มีอยู่เป็นจำนวนมากและกินพื้นที่ฝังกลบขยะ

ปัจจุบันวิธีหนึ่งที่ใช้กำจัดขยะพลาสติกก็คือ การแปรรูปให้เป็นน้ำมัน เพราะเม็ดพลาสติก หรือโพลิเมอร์ (Polymer) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันซึ่งสามารถทำปฏิกิริยาย้อน กลับของกระบวนการ ก็จะทำให้พลาสติกสามารถกลับไปเป็นน้ำมันได้

เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในเทศบาลที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 35 ล้านบาท ในการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันของเทศบาลเมืองวารินชำราบ เป็นหนึ่งในกรณีตัวอย่างความสำเร็จของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน ที่ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมด้านอนุรักษ์พลังงานมามากกว่า 1,000 โครงการและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน องค์กรและประเทศไทยแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษจากขยะพลาสติกอีกด้วย

เทศบาลเมืองวารินชำราบ มีขยะพลาสติกประมาณ 14.2 ตัน มีกำลังการแปรรูป ขยะพลาสติกวันละ 10 ตัน สามารถผลิตน้ำมันได้วันละประมาณ 6,600 ลิตร ซึ่งการแปรรูปดังกล่าวจะทำให้ขยะเดิมมีปริมาณลดลงและมีพื้นที่สำหรับรองรับ ขยะใหม่ ปัญหาของขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่เนื่องจากว่า พลาสติกมีน้ำหนักเบาแต่ใช้พื้นที่ในการฝังกลบมากไม่เหมือนเศษอาหารที่ย่อย สลายได้ และพลาสติกใช้เวลามากกว่า 400 ปีถึงจะย่อยสลาย

นายจีระชัย ไกรกังวาร นายกเทศมนตรีเมืองวารินชำราบ กล่าวว่า เทศบาลเมืองวารินชำราบมีขยะรวมจำนวน 25–30 ตันต่อวัน รวมกับขยะรอบเทศบาลเมืองวารินชำราบ เช่น เทศบาลนคร เทศบาลตำบล อบต. ต่าง ๆ มาใช้บริการเทศบาลเมืองวารินชำราบ รวมแล้วประมาณ 130–140 ตันต่อวัน โดยมีพื้นที่จัดการขยะจำนวน 300 ไร่ ซึ่งปัจจุบันยังสามารถรองรับขยะได้ แต่หากขยะที่มีมากขึ้นทุกวันอาจจะทำให้เกิดปัญหาขยะในอำเภอวารินชำราบได้อีก 5–10 ปี

กระบวนการแปรรูป เริ่มต้นที่การทำความสะอาดพลาสติกให้มีความปนเปื้อนได้ไม่เกินร้อยละ 30 และนำเข้าเตาเผาโดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 300–500 องศาเซลเซียส เพื่อถ่ายเทความร้อนให้กับพลาสติก พลาสติกก็จะกลายจากของแข็งเป็นของเหลว จากของเหลวกลายเป็นไอ และทำท่อให้ไอจากของเหลวผ่านการควบแน่นโดยใช้น้ำเป็นตัวหล่อเย็น พอผ่านกระบวนการหล่อเย็นก็จะได้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องนำไปกลั่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานกับเครื่องยนต์ เครื่องจักรได้

พลาสติกที่เหมาะสมในการนำมาแปรรูปให้เป็นน้ำมันมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ HDPE (ถุงหูหิ้ว) LDPE (ถุงใส่น้ำแข็ง ที่มีความเหนียว) และ PPE (ถุงร้อน ถุงเย็นที่ใส่อาหาร)

ประโยชน์ที่ได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน นายจีระชัย บอกว่า “น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มาสามารถนำไปใช้ทดแทนน้ำมันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ ปกติซื้อน้ำมันดีเซลในราคาลิตรละประมาณ 30 บาท และน้ำมันเบนซินลิตรละ 30 กว่าบาท ในขณะที่น้ำมันจากขยะพลาสติกมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ ลิตรละ 15-16 บาท ซึ่งทางเทศบาลวารินชำราบนำน้ำมันที่ได้ไปใช้ในกิจกรรมของเทศบาลเช่น เครื่องจักรของเทศบาล รถเก็บขยะ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก”

จากความสำเร็จของการให้การสนับสนุนด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน อย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับการ “แปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน” ของเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า สนพ. ได้ผลิตสารคดีโทรทัศน์เพื่อรวบรวมตัวอย่างผลงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงานและสื่อสารให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการประหยัด พลังงาน รวมถึงเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้สนใจนำเทคนิควิธีการอนุรักษ์พลังงานไปใช้ เพื่อตนเอง ครอบครัวและสังคม”

สารคดีโทรทัศน์ชุด “สรรค์สร้างพลังงานต้นแบบ” จะเผยแพร่ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ในรายการเช้าข่าวข้น คนข่าวเช้า ช่วงเวลา 06.00–07.00 น. ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2554 และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eppo.go.th เฟซบุ๊ก สรรค์สร้างพลังงานต้นแบบ.

http://www.dailynews.co.th/article/522/2524