วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรงไฟฟ้า อิโซโกะ ต้นแบบพลังงานสะอาดเคียงคู่ชุมชน

ปฏิวัติพลังงานสะอาดเคียงคู่ชุมชน

ถึงเวลาปรับแนวคิดการ สร้างโรงไฟฟ้าในไทยกันเสียที…เมื่อมีโอกาสได้สัมผัสกับ “โรงไฟฟ้า อิโซโกะ” ของ บริษัท พัฒนาพลังงานไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เจพาวเวอร์ ในเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ที่แม้จะใช้โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำและ ไฟฟ้าร่วมที่มีขนาดเล็ก แต่สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อดูแลชาวโตเกียวและโยโกฮามา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูงจนทำให้คนในเมืองสามารถ อยู่ร่วมกับโรงไฟฟ้าได้โดยไม่มีเสียงเรียกร้องใด ๆ เกิดขึ้น

โรงไฟฟ้าอิโซโกะ มีอายุยาวนานกว่า 40 ปี โดยเริ่มผลิตไฟฟ้าครั้งแรกในปี 2510 ต่อมาได้มีการปรับปรุงโฉมใหม่จนแล้วเสร็จเมื่อปี 2552 ใช้งบลงทุนจำนวนมากถึง 25,000 ล้านเยน เพื่อปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตให้ทันสมัยเพื่อให้ได้การผลิตไฟฟ้าที่มี ประสิทธิภาพจากกำลังคนเพียงแค่ 200 คน และยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการปล่อยสารไนโตรเจนออกไซด์และสารซัลเฟอร์ออกไซด์ ได้สูงสุดแห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งยังสามารถกำจัดมลพิษได้มีประสิทธิภาพกว่า 99.94% มีระบบบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิต และยังมีการปรับระบบการส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นจากเดิมด้วย

ด้วยกำลังการผลิต 1.2 ล้านเมกะวัตต์ จากการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นเองและนำเข้ามาจาก ประเทศอื่นๆ เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าวันละ 10,000 ตัน ขณะที่ภายในโรงงานมีโรงไซโลบรรจุถ่านหินเก็บไว้ภายในอย่างมิดชิด ทำให้เมื่อเข้าไปสำรวจทั่วโรงงานจะไม่มีโอกาสได้เห็นถ่านหินแม้แต่ก้อนเดียว จึงไม่เกิดปัญหาฝุ่นละออง หรือเกิดปัญหาเสียงสั่นสะเทือนใด ๆ

“ซิคุดะ ฮิเดกิ” ผู้จัดการโรงไฟฟ้า อิโซโกะ ได้เล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่เลือกใช้ถ่านหินมาเป็นพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ว่า ข้อดีของถ่านหินคือ มีต้นทุนถูกที่สุดเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานชนิดอื่นที่ สำคัญถ่านหินเป็นทรัพยากรที่มีมากและมีอยู่ทั่วโลก โดยถ่านหินใช้แล้วจะนำมารีไซเคิลเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของปูนซีเมนต์ด้วย และถ่านหินเกือบทั้งหมดจึงถูกนำมาเป็นส่วนผสมของปูนซีเมนต์ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้โรงไฟฟ้าแห่งนี้ยังไม่ถูกชุมชนออกมาต่อต้าน เพราะได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจและให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม และได้มีการร่างสนธิสัญญารักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในเมืองอย่างเข้มงวด โดยในร่างสนธิสัญญาจะมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าตัวเลขการปล่อยก๊าซที่เป็นพิษ ต้องน้อยที่สุดและเข้มงวดมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เพื่อสร้างความอุ่นใจให้แก่ประชาชนในประเทศญี่ปุ่น

ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าที่ผ่านมาทำไม? ในญี่ปุ่นจึงไม่เคยเกิดปัญหาการต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าและไม่ใช่เพียงแค่ โรงไฟฟ้าอิโซโกะ แค่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่โรงไฟฟ้าแห่งอื่น ๆ ในญี่ปุ่น ก็เช่นกันไม่เคยมีปัญหาต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากโรงไฟฟ้าทุกแห่งต่างมีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นกัน

ไม่เพียงเท่านี้ “ซิคุดะ” ยังบอกด้วยว่า ปัจจุบันเจพาวเวอร์ ยังอยู่ระหว่างทำการวิจัยและพัฒนาสร้างโรงงานไฟฟ้าต้นแบบที่ผลิตไฟฟ้าและไม่ มีการปล่อยก๊าซที่เป็นพิษออกสู่อากาศเลยด้วย และมีความเป็นไปได้สูงมากที่คนทั้งโลกจะมีโอกาสได้เห็นโรงไฟฟ้าดังกล่าวออก มาในอนาคต และในปี 57 ประเทศญี่ปุ่นจะมี “โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์” เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศด้วย โดย บริษัท เจพาวเวอร์ ได้เป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง โดยการเลือกใช้พลังงานนิวเคลียร์ก็เพราะมีต้นทุนที่ถูกที่สุดซึ่งถูกกว่าการ ใช้ถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติด้วยซ้ำ จึงเชื่อได้ว่าโรงไฟฟ้าแห่งใหม่นี้จะกลายเป็นต้นแบบครั้งสำคัญของโรงไฟฟ้า ทั่วโลกอีกครั้ง และอาจทำให้หลายประเทศที่ชะลอแผนสร้างโรงไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ ต้องกลับมาทบทวน
อีกครั้ง

ขณะที่ “ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โต้โผใหญ่ที่นำคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมและศึกษาดูงานที่โรงไฟฟ้าอิโซโกะในครั้ง นี้บอกว่า เพราะเป็นโรงไฟฟ้าต้นแบบที่สำคัญของผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงโรงไฟฟ้าของไออาร์พีซีด้วย เนื่องจากมีระบบการบริการจัดการภายในที่ดี ทั้งด้านระบบการผลิตและการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้นานถึง 30 ปีโดยไม่มีปัญหา

ที่สำคัญโรงไฟฟ้าอิโซโกะยังถือเป็นต้นแบบสำคัญของโรงไฟฟ้าไออาร์พีซี ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำและไฟฟ้าร่วม (CHP: Combined Heat and Power Project) ที่ใช้เงินลงทุนราว ๆ 8,000 ล้านบาท บนพื้นที่รวม 21 ไร่ ในเขตประกอบกิจการของบริษัท ที่ จ.ระยอง โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นตัวผลิตไฟฟ้า และจะสามารถเดินเครื่องการผลิตได้ในเดือน ก.ค.54 นี้ หลังจากนั้นบริษัทจะหยุดใช้โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงระบบเดิม ทันที

บอสใหญ่ของไออาร์พีซียังระบุด้วยว่าการเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำและไฟฟ้า ร่วมนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไอน้ำและไฟฟ้าได้มากขึ้น รวมถึงยังช่วยป้องกันปัญหาไฟฟ้าดับและไฟฟ้าตกที่เกิดขึ้นในบริเวณชุมชนโดย รอบ ทำให้บริษัทมีโอกาสแข่งขันได้มากขึ้นในอนาคตรวมทั้งยังจะเป็นตัวอย่างที่ดี แก่การอยู่ร่วมกันระหว่างโรงไฟฟ้ากับประชาชนในพื้นที่ด้วย

โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำและไฟฟ้าร่วมนี้ จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 220 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไอน้ำได้ 420 ตันต่อชั่วโมง รวมทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ที่เป็นตัวการก่อปัญหาก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 400,000 ตันต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกป่าในพื้นที่ขนาด 23,059 ไร่ ถือว่าเป็นโครงการที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากที่สุดในไทย

นอกจากนี้บริษัทยังสามารถนำโครงการนี้เข้าร่วมโครงการลดภาวะโลกร้อน เพื่อขายเป็นคาร์บอนเครดิต (ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่ สะอาด) ด้วย โดยอยู่ระหว่างเจรจาขายคาร์บอนเครดิตแก่องค์การสหประชาชาติ รวมถึงยังมีเอกชนไทยหลายราย อาทิ การบินไทย สนใจติดต่อซื้อคาร์บอนเครดิตของบริษัทเช่นกัน จึงอยากให้องค์กรอื่นของไทยหันมาตื่นตัวเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิตมาก ขึ้น

การเริ่มต้นกับก้าวใหม่ของ “ไออาร์พีซี” ที่วางแผนสู่การปฏิรูปโรงไฟฟ้าของไทยครั้งใหม่ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นโรงไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงนั้น ถือเป็นการจุดกระแสตื่นตัวให้กับโรงไฟฟ้าขององค์กรรัฐที่จะหันมาทบทวนนโยบาย สร้างโรงไฟฟ้ากันใหม่อีกครั้ง…เพราะประเทศไทยยังสามารถสร้างไฟฟ้าแห่งใหม่ ขึ้นได้ หากมีแผนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง!!!.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=123175

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานจาก3แหล่งพลังงาน

หากพูดถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์หลายคนคงนึกถึงแผงโซล่าเซลล์ และหากพูดถึงพลังงานลมแน่นอนว่าเราคงนึกถึงกังหันลมกัน ซึ่งทั้งสองอย่างต่างก็เป็นอุปกรณ์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่ต่างกันออกไป แต่ที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นักศึกษา ซึ่งประกอบด้วย นายกฤษฎา พรหมพินิจ นายบุญยัง ปลั่งกลาง นายกฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ และ นายสมชัย หิรัญวโรดม ได้สร้างเครื่องต้นแบบโมบายจากพลังงานแบบผสมผสานได้สำเร็จ ซึ่งเครื่องต้นแบบดังกล่าว เป็นการผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และเครื่องกำเนินดีเซล

โดยผู้วิจัยได้อธิบาย ว่า การผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน คือ การรวมแหล่งพลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ และผสมกับแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ โดยมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายพลังงานเสริม กล่าวคือ ในเวลากลางวัน เมื่อพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลมเพียงพอต่อความต้องการ ระบบจะจ่ายพลังงานไปยังโหลดโดยตรง และประจุไฟแบตเตอรี่ที่บางเวลา เมื่อต้องการใช้ไฟจากแบตเตอรี่จะแปลงไฟฟ้าผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าสองทาง สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ

ส่วนเวลากลางคืน ระบบไฮบริดจ์จะจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า โดยใช้ไฟฟ้าที่ประจุอยู่ในแบตเตอรี่ และถ้ากังหันลมสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ พลังงานลมจะสามารถจ่ายพลังงานไปยังระบบได้ตลอดเวลา และถ้าแบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายพลังไปยังโหลด ระบบควบคุมจะสั่งการสตาร์ทเครื่องกำเนิดทันที เพื่อจ่ายพลังงานให้กับโหลด และประจุแบตเตอรี่ที่บางเวลา อย่างไรก็ตาม ถ้าแบตเตอรี่ประจุเต็ม และโหลดไม่มีความต้องการ ระบบจะสั่งการให้สวิตช์ตัดแหล่งจ่ายพลังงานลม และเซลล์แสงอาทิตย์ออกจากระบบ เพื่อความปลอดภัยของกังหันลม จึงมีการ Dump Load สำหรับกรณีดังกล่าว

สำหรับต้นแบบโมบายที่ประดิษฐ์ขึ้นเครื่องนี้ ประกอบด้วยระบบวัดบันทึกแสดงผลแบบ Real-time สามารถควบคุมการทำงานทั้งหมดแบบอัตโนมัติ ในการออกแบบเครื่องนั้น ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์พิกัดขนาด 2kWp, กังหันลมขนาด 1 kW แบตเตอรี่ขนาด 24 kWh และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลขนาด 5 kW หลังจากผ่านมาทดสอบมาอย่างยาวนานแล้ว พบว่า ระบบสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้โหลดได้อย่างต่อเนื่อง และทำงานได้เสถียรภาพ สามารถจ่ายพลังงานไปยังโหลด โดยไม่มีช่วงการขาดพลังงาน ส่วนวัตถุประสงค์ในการผลิต เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ดังนั้น เครื่องโมบายไฮบริดจ์จึงถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของห้องคอนเทนเนอร์(Container) ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก

นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่รวมเอาประโยชน์จากพลังงานทั้งสามแหล่งมาไว้ด้วยกัน ได้อย่างลงตัวทีเดียว และขณะนี้เครื่องต้นแบบโมบายไฮบริดจ์ถูกนำมาใช้ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี หากผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-899-2996.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=121739&categoryID=651

สร้างโรงไฟฟ้า พลังแสงอาทิตย์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี

นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้รับเลือกให้เป็นผู้รับงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ บริษัท ไอเฟค กรีน เพาเวอร์ พลัส จำกัด ที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ขนาด 5 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรง กำลังการผลิตรวม 10 เมกะวัตต์ รวมมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างในเดือนเม.ย.นี้ คาดแล้วเสร็จและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ภายในเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ ซึ่งคิดเป็นมูลค่างานที่บริษัทได้รับจากงานดังกล่าว 850 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีมูลค่างานในมือปัจจุบันเพิ่มเป็น 6,000 ล้านบาท และผลักดันให้รายได้รวมสิ้นปีนี้เป็นตามเป้าหมาย 5,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ภายในเดือน มี.ค. นี้ บริษัทคาดว่าจะได้ข้อสรุปในการเข้าถือหุ้นในบริษัท ไอเฟค กรีนเพาเวอร์พลัส จำกัด เพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน นอกจากนี้ บริษัทเตรียมยื่นประมูลโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 200 เมกะวัตต์ มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท คาดว่ามีโอกาสได้งานดังกล่าว 10% และน่าจะทราบผลการประมูลภายในเดือน ก.พ. นี้

“หลังจากที่บริษัทได้ย้ายกระดานซื้อขาย (เทรด) หุ้นมาเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากเดิมตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เพราะหุ้นของบริษัทมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นตามวัตถุประสงค์ของบริษัทเนื่องจากในอนาคตมีแผนจะเพิ่มทุนรองรับการ ขยายกิจการ นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างตั้งบริษัทลูกภายใต้ชื่อ เด็มโก้ เพาเวอร์ เพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนทั้งพลังงานลม และแสงอาทิตย์”.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=121701

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การวิจัยสาหร่ายผลิตน้ำมันอย่างก้าวกระโดด

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โชว์งานวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายน้ำมันด้วยเทคนิคการย้อมสีแห่งแรกของ ไทย ระบุเป็นการวิจัยสาหร่ายผลิตน้ำมันอย่างก้าวกระโดด เพื่อเป็นพลังงานทดแทนในอนาคตที่รวดเร็วขึ้น

“ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ วว.ได้ประสบผลสำเร็จในการใช้เทคนิคย้อมสีไนล์ เรด (Nile Red staining) เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่ผลิตน้ำมันได้รวดเร็วเป็นแห่งแรกของประเทศ ไทย โดยปัจจุบันพบว่ามีสาหร่ายสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทยแล้วกว่า 40 สายพันธุ์ และจากนี้จะนำสาหร่ายสายพันธุ์ดังกล่าวมาขยายผลในระบบการเพาะเลี้ยงกลางแจ้ง ต่อไป เพื่อการวิจัยพัฒนาที่ไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ได้จริง

ส่วนปัญหาที่หลาย ๆ คนเป็นห่วงในการใช้พืชอาหารมาทำพลังงานทดแทนที่ส่งผลทำให้ราคาสินค้าเกษตร เช่น ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย มีราคาสูงขึ้นนั้น รมว.วิทยาศาสตร์ฯ บอกว่าการใช้สาหร่ายสำหรับทำพลังงานทดแทนจะไม่กระทบกับราคาสินค้าเกษตรโดย ตรงอย่างแน่นอน

ด้าน ดร.กันย์ กังวานสายชล นักวิจัย ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงทางเลือก สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. และผู้จัดการเครือข่ายวิจัยพลังงานจากสาหร่ายขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (คพท.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ วว. คัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่ผลิตน้ำมันและพัฒนาการเพาะเลี้ยงในระดับขยาย เชิงพาณิชย์กลางแจ้งแล้ว ในส่วนของน้ำมันที่ได้ ปตท. จะนำไปวิเคราะห์คุณสมบัติและพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมในการใช้งานต่อไป

ทั้งนี้ ปตท. สนับสนุนทุนวิจัยจำนวน 140 ล้านบาทในการดำเนินโครงการ ภายใต้การดำเนินงานของ เครือข่ายวิจัยพลังงานจากสาหร่ายขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (คพท.) โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 7 ปี (พ.ศ. 2551-2558) มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์เพื่อให้ต้นทุนของน้ำมันจากสาหร่ายน้อยกว่า 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเป้าหมายเชิงเทคนิคให้สาหร่ายมีผลผลิตสูงกว่า 30 กรัมต่อตารางเมตรต่อวัน และมีปริมาณน้ำมันประมาณ 40% หรือสามารถคิดเป็นผลผลิตน้ำมันสาหร่ายประมาณ 6 ตันน้ำมันต่อไร่ต่อปี ไม่รวมผลิตภัณฑ์พลอยได้ จำพวกโปรตีนคุณภาพสูง และสารสกัดจำพวกกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

ซึ่งในเบื้องต้นมีการประเมินต้นทุนการผลิต ซึ่งมวลสาหร่ายอยู่ที่ประมาณ 200 บาทต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง โดยมีปริมาณน้ำมันที่ 20-30% ของสาหร่ายแห้ง ซึ่งยังคงเป็นต้นทุนการผลิตน้ำมันที่สูงอยู่

นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. สั่งสมประสบการณ์วิจัยและพัฒนาด้านสาหร่ายมาเป็นเวลากว่า 25 ปี มีคลังสาหร่ายขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของเอเชียรองจากประเทศญี่ปุ่นและจีน มีคลังสาหร่ายเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายที่แยกจากระบบนิเวศต่าง ๆ ของประเทศไทยกว่า 1,000 สายพันธุ์ และมีระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายระดับขยายกลางแจ้งต้นแบบ ตั้งแต่ขนาด 100–10,000 ลิตร รวมทั้งมีนักวิชาการและทีมงานที่เชี่ยวชาญ ซึ่งมีประสบการณ์ในการวิจัยพัฒนาด้านสาหร่าย ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนามมากกว่า 25 ปี ทำให้มีข้อได้เปรียบสูงด้านการคัดเลือกหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดในการ ต่อยอดงานวิจัยแขนงต่าง ๆ

ที่สำคัญงานวิจัยเหล่านี้มีผลงานเป็นรูปธรรมทั้งด้านองค์ความรู้และ ผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลายชนิด ซึ่งมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคเอกชน ในการนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยั่งยืน.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=121323&categoryID=478