วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ลมพลังงานสามารถจัดเก็บเป็นน้ำแข็ง

วิธีที่สมบูรณ์แบบของการจัดเก็บไฟฟ้าที่เกิดจากกังหันลมได้รับการหลบหลีกไปจนถึง. ไอเดียเช่น ซุปเปอร์ขนาดแบตเตอรี่, อัดอากาศและเก็บพลังน้ำ ได้ทุก floated. หนึ่งในบริษัทคิดว่าคำตอบอาจจะเป็นแบบง่ายๆเช่นการทำน้ำแข็ง.
Calmac ได้เกิดขึ้นกับระบบจัดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า IceBank ที่ใช้พลังงานที่สร้างขึ้นที่เอาคืนสูงสุดเวลาชั่วโมงเพื่อให้น้ำแข็ง. นั่นน้ำแข็งเก็บไว้ใช้สำหรับการระบายความร้อนเพื่อความต้องการสูงในช่วงเวลา กลางวัน. บริษัทอ้างว่าความต้องการไฟฟ้าลดสำหรับเย็นสามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงาน 20-40 เปอร์เซ็นต์. ลดยังหมายถึงการปล่อยให้น้อยลงจากโรงไฟฟ้านั่น.

นี้วิธีที่ดีสำหรับการควบคุมแรงลมที่อื่นอาจจะไปเสียในกลางคืนชั่วโมงเวลา. และจะต่ำสวยเทคโนโลยี - ต้องการลิเธียมหรือแร่หายากไม่มีแผ่นดิน - เพียง souped up ทำน้ำแข็ง.

ที่มา http://ecogeek.org/automobiles/3018-ok-residents-can-buy-an-electric-car-for-less-than?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+EcoGeek+(EcoGeek)&utm_content=Twitter

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประหยัดพลังงานด้วยบ้านดิน

วันนี้ได้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ มีเลือกเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานคือการสร้างบ้านด้วยบ้านดินรายละเอี่ยดในหนังสือพิมพ์
สมัยนี้การจะมีบ้านสักหลังต้องใช้ทุนสูงมาก “บ้านดิน” จึงกลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีเงินทุนไม่มาก แต่มีกำลังพอที่จะสร้างบ้านด้วยตัวเอง

พิชิต ชูมณี หรือ พี่เอ นวัตกรสังคมจากโครงการการศึกษาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสถาบันพระปกเกล้า ภายใต้การสนับสนุนของ กฟผ. เป็นอีกหนึ่งคนที่ลงมือลงแรงปลูกบ้านดินขึ้นเอง และยังเปิดบ้านที่ ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสอนและถ่ายทอดวิธีการทำบ้านดินให้กับผู้สนใจอีกด้วย

ขั้นตอนที่ยากและใช้เวลานานที่สุดในการทำบ้านดิน คือการเตรียมอิฐ เริ่มจากการผสมดินกับใยปาล์มซึ่งเป็นเส้นใยที่ยาวและเหนียว ช่วยให้เกาะตัว ยึดประสานกับดินได้ดีกว่าแกลบ และยังทำให้บ้านคงทนกว่าด้วย

แต่ข้อเสียของการใช้ใยปาล์มก็คือจะไม่สามารถใช้เท้าย่ำได้ เพราะใยปาล์มจะมีความคม ถ้าเหยียบลงไปจะทำให้บาดเท้า สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย ซึ่งจะทำให้ผลิตได้ในปริมาณที่มากกว่า และยังช่วยให้อิฐแข็งแรงคงทนมากกว่าด้วย

หลังผสมดินกับใยปาล์มเสร็จเรียบร้อย ให้เอามาเทลงในบล็อก ขนาด 20x40x7.5 ซม. อิฐที่ได้แต่ละก้อนจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 6 กิโลกรัม นำอิฐมาตากแดด 7 วันก็นำไปใช้งานได้ ส่วนขั้นตอนของการทำฐานรากให้ใช้ปูนกับคอนกรีตหล่อฐาน

การก่ออิฐดิน จะใช้อิฐประมาณ 40 ก้อน ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เสร็จแล้วค่อยทำการเคลือบฉาบสี โดยการนำเอาดินมาบดให้ละเอียด (ถ้าต้องการสีแดงก็ให้ใช้ดินสีแดง ถ้าต้องการสีขาวก็ให้ใช้ดินขาว) มาผสมกับกาวลาเท็กซ์หรือแป้งมันสำปะหลัง

การเคลือบสีตามแนวธรรมชาติแบบนี้ จะทำให้ได้บ้านที่ดูแล้วสวยคลาสสิก ไม่แปลกปลอม กลมกลืนกับธรรมชาติ ดูมีเสน่ห์ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร

ข้อดีของบ้านดินก็คือ ต้นทุนในการก่อสร้างต่ำ แต่มีความแข็งแรง ทนต่อแรง กระแทกได้ดีกว่าบ้านปูน เพราะมีความยืดหยุ่นกว่า โดนค้อนทุบไม่แตกกระจาย โดนฝนก็ไม่เป็นไร ที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และยังช่วยปรับสภาพอากาศได้อีกด้วย ถ้าอากาศภายนอกร้อน บ้านดินจะทำให้รู้สึกเย็น ถ้าอากาศภายนอกเย็น บ้านดินก็จะทำให้รู้สึกอบอุ่น นอกจากนี้วัตถุดิบยังสามารถหาได้จากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถใช้วัสดุทดแทนจากใยปาล์มเป็นหญ้าแฝก หญ้าคา หรือแกลบก็ได้ ช่วยให้ทุกคนได้มีบ้านสวยอยู่ได้ในราคาไม่แพง

ปัญหาของบ้านดินมีน้อยมาก และสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก อาทิ หากมือไม่นิ่ง ไปคุ้ยแคะแกะเกาหรือเอาไม้เอาเหล็กไปขีดข่วน เอามีดไปกรีดผนังบ้าน จะก่อให้เกิดรอยถลอก ทำให้น้ำอาจซึมเข้าไปได้ วิธีแก้คือเคลือบทาสีใหม่ ทาพื้นผิวให้เรียบสนิท จนน้ำกลิ้งลงไป ไม่เกาะติดตามรอยแตก แต่ถ้าเจอกรณีที่มีรูเยอะ แก้ไขด้วยการเอาดินผสมใยปาล์มลงไป แล้วเอาสีทาเคลือบลงไปใหม่ ก็จะได้ความ แข็งแรงกลับคืนมา สิ่งที่ควรระวังอีกอย่าง คือฤดูฝนความชื้นเยอะ ถ้าเคลือบบ้านดินไม่ดีพอ อาจเกิดเชื้อราเกาะได้ แก้ไขได้ด้วยการ เอาผ้าเช็ดเชื้อราออก แล้วเคลือบสีใหม่ตรงที่มีราขึ้น

ข้อแนะนำสำหรับวิธีการบำรุงรักษาบ้านดินในพื้นที่ใกล้นาหรือแหล่งเพาะปลูก ที่มีหนูและปลวกอาศัยอยู่จำนวนมาก คือต้องดูแลหนูให้ดี หนูนาชอบบ้านดินเพราะอุณหภูมิเหมาะกับการที่หนูจะขุดรูชั้นล่างเพื่อเข้าไป อยู่ วิธีรับมือที่ดีคือ ช่วงตีคานให้อัดยาฆ่าปลวกลงไป และหมั่นตรวจสอบ ถ้าเราอยู่บ้านทุกวันไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าทิ้งบ้านนาน ๆ เป็นเดือน ปลวก หนูและแมงมุม มักจะชอบเข้ามาอยู่ บ้านดินก็เหมือนบ้านทั่วไปที่ต้องการได้รับการดูแลใส่ใจเฉกเช่นเดียวกัน

การก่อสร้างบ้านดินมีราคาต่ำกว่า การก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์ประมาณเกือบ 3 เท่า อย่างเช่นรีสอร์ทที่ ต.ปกาสัย ที่กำลังก่อสร้างอยู่ มีขนาดพื้นที่หลังละ 12 ตารางเมตร มีห้องน้ำในตัว ราคาก่อสร้างบ้านดินตกหลังละ 7 หมื่นบาท รวมค่าแรงก่อสร้างแล้ว แต่ถ้าเป็นบ้านปูนซีเมนต์ขนาดเท่ากัน จะต้องเสียค่าก่อสร้างประมาณ 2 แสนบาท

สำหรับบ้านตัวอย่างที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ก่อสร้างมาแล้ว นานกว่า 2 ปี พบว่าแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี ใช้กระเบื้องหนัก 2 ตัน (2,000 กก.) เหล็กใช้ถึง 2 ตัน รวมหลังคาบ้านดินหลังนี้มีน้ำหนักรวม 4 ตัน (4,000 กก.) จะเห็นได้ว่าบ้านดินสามารถรับน้ำหนักได้สบาย

บ้านหลังนี้มีขนาดความกว้าง 25 ตารางเมตร แต่ตัดมุมให้เป็นทรงแปดเหลี่ยม ใช้งบประมาณทั้งหมด 80,000 บาท เป็นค่าหลังคาที่ซื้อเหล็กและกระเบื้อง 60,000 บาท และใช้ต้นทุนในการก่ออิฐทั้งหมด 20,000 บาท

พิชิต กล่าวว่า “ความสำเร็จของการสร้างบ้านดินด้วยตนเอง เคล็ดลับอยู่ที่ความตั้งใจ บ้านดินเหมาะสำหรับพื้นดินที่แข็ง ไม่เหมาะกับพื้นที่มีน้ำเจิ่งนอง พื้นที่น้ำท่วมถึง พื้นที่ดินเหลวหรือดินอ่อน เพราะดินอาจจะพอง น้ำจะซึมได้ ถ้าเราสามารถทำบ้านดินขึ้นเองได้ จะทำให้เราได้คุณค่าชีวิตหลายอย่าง อาทิ เพิ่มพูนความรู้ เกิดความรู้สึกอยากศึกษา ค้นคว้า ทดลองทำในสิ่งใหม่ ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา และถ้าหากเราร่วมด้วยช่วยกันทั้งครอบครัว จะก่อให้เกิดสายใยรักและความผูกพันในครอบครัวที่ดี ทำให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้ พอทำไปเกิดปัญหา ก็จะหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ก่อให้เกิดทักษะ ฝึกสมอง และใจที่จดจ่อกับการก่ออิฐทีละก้อนทีละชั้น ทำให้เกิดสมาธิที่ดีต่อตัวเราอีกด้วย”.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=494&contentId=38126

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ไอ มีฟ ( i-MiEV) เป็นรถพลังงานไฟฟ้าที่ไม่สร้างมลพิษ




มิตซูบิชิ ไอ มีฟ ( i-MiEV) เป็นรถพลังงานไฟฟ้าที่ไม่สร้างมลพิษโดยมีโครงสร้างพื้นฐานมาจากรถยนต์ “ไอ” ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซินขนาด 660 ซีซี โดยเป็นรถที่มาพร้อม ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยียนตรกรรมของมิตซูบิชิ ไม่ว่าจะเป็นความโดดเด่นของโครงสร้าง การวางเครื่องยนต์ไว้ตรงกลางด้านหลัง (rear-midship layout) รวมไปถึงแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ความหนาแน่นสูง และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง โดยมิตซูบิชิมีแผนจะเปิดขายอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2552 นี้

ปัจจุบัน มิตซูบิชิ มอเตอร์ส จัดทดสอบรถยนต์ ไอ มีฟ ( i-MiEV) ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำแบบสำรวจตลาดและ โปรแกรมการทดสอบในประเทศต่างๆ นอกเหนือ จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อทดสอบความสามารถในการทำงานของเทคโนโลยี ดังกล่าวในตลาดต่างๆ โดยในยุโรป มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้อยู่ในระหว่างการปรึกษาหารือกับภาครัฐของไอซ์แลนด์จะเริ่ม การทดสอบ ร่วมกันภายในปีงบประมาณ 2552 ในอเมริกาเหนือ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส และบริษัทที่ดำเนินงานเกี่ยวกับพลังงาน (power company )
2 บริษัท ในแคลิฟอร์เนียมีแผนที่ จะเริ่มการทดสอบและเตรียมจัดกิจกรรมโปรโมทในระหว่างปีงบประมาณนี้ รวมทั้งในประเทศนิวซี แลนด์ซึ่งมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้ร่วมกับบริษัท เมอริเดียน เอ็นเนอจี ( Meridian Energy ) ซึ่งเป็น รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้า เตรียมจัดกิจกรรมเดินสายโปรโมทรถยนต์มิตซูบิชิ ไอมีฟ ในปีหน้า เพื่อประเมินความสนใจในตัวรถของคนในพื้นที่โดยตรง

นอกจากนี้ "มิตซูบิชิ คอนเซปต์ cX" ยังถึงพร้อมด้วยอรรถะประโยชน์เพื่อการใช้งานที่สมบูรณ์แบบจาก
ตำแหน่งของเบาะนั่งที่สูงขึ้นจะทำให้ผู้ขับขี่มีมุมมองที่กว้างขึ้น เพิ่มอารมณ์ในการขับขี่อย่างรถ SUV ด้วย
ความยาวตัวถัง 4,100 มม. พร้อมตัวถังแบบคอมแพคทำให้ง่ายต่อการใช้งานในเมือง รวมไปถึงการ
แยกส่วนฝาท้ายออกมาเป็น 2 ส่วนซึ่งเป็นสไตล์ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในรถมิตซูบิชิรุ่นต่างๆ ช่วย
ให้ง่ายต่อการบรรทุกและขนสัมภาระ ในส่วนของสมรรถนะในการขับขี่นั้น "มิตซูบิชิ คอนเซปต์ cX" ขับเคลื่อน 4ล้อ ควบคุมด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์ พร้อมล้อและยางขนาด 225/45R19 ที่ตอบรับกับทุก
สภาพการขับขี่และให้ความแม่นยำในทุกสภาพถนน
ลงตัวด้วยโครงสร้างชั้นเยี่ยม

ไอ มีฟ ( i-MiEV) มีการติดตั้งระบบแบตเตอรี่ มอเตอร์ และ ส่วนประกอบต่างๆ ของระบบพลังงานไฟฟ้า เข้าไปแทนที่ตำแหน่งเครื่องยนต์และถังน้ำมัน ด้วยระยะฐานล้อที่กว้าง ( 2,550 มิลลิเมตร) ซึ่งเทียบเท่ากับรถยนต์นั่งขนาดใหญ่หลายคัน และยังให้ห้องโดยสารที่กว้างขวางเพียงพอสำหรับการติดตั้งแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออนประสิทธิภาพสูงไว้ในส่วนล่างของตัวรถ ทั้งนี้จากโครงสร้างการวางเครื่องยนต์ไว้ตรงกลางด้านหลังทำให้สามารถติดตั้ง มอเตอร์ และอินเวอร์เตอร์ไว้ใต้ตำแหน่งเบาะนั่งด้านหลังซึ่งเป็นตำแหน่งของเครื่อง ยนต์และระบบขับเคลื่อนในรถยนต์มิตซูบิชิ ไอ ยิ่งไปว่านั้นจากเลย์เอาท์รูปแบบเฉพาะของมิตซูบิชิดังกล่าวยังทำให้มี พื้นที่ภายในห้องโดยสารเพิ่มขึ้นโดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 4-ที่นั่งพร้อมพื้นที่ใส่ของด้านหลังของตัวรถ

สะดวกสบายด้วยการชาร์จไฟได้ทั้งจากตู้ชาร์จแบตเตอรี่และจากที่ชาร์จไฟในบ้าน
ไอมีฟยังสามารถชาร์จไฟได้ 3 รูปแบบ ทั้งจากตู้ชาร์จแบตเตอรี่ ที่ชาร์จไฟในบ้านประเภท 100 วัตต์ และที่ชาร์จไฟในบ้านประเภท 200 วัตต์ โดยในส่วนของตู้ชาร์จแบตเตอรี่นั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาซึ่งเป็นการ ร่วมมือกันระหว่างมิตซูบิชิและ Tokyo Electric Power Company โดยตู้ชาร์จแบตเตอรี่สามารถชาร์จได้ถึง 80% ภายใน 30 นาทีเท่านั้น ในขณะที่การชาร์จด้วยไฟฟ้าภายในบ้านหากชาร์จด้วยไฟฟ้าขนาด 100 V/15 A จะใช้เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง และหากชาร์จด้วยไฟฟ้าขนาด 200 V/15A จะใช้เวลาเพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้น

เลิกเผาฟางสร้างพลังงานทดแทน

แม้ปัจจุบันฟางข้าวจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ แต่การเผาฟางเป็นทางเลือกที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด แม้ว่าเกษตรกรเองจะไม่อยากเผาฟางก็ตาม แต่ว่าผลกระทบที่ตามมานั้นไม่เพียงความร้อนที่เกิดจากการเผาจะทำลายธาตุ อาหารในดิน และได้ผลผลิตคุณภาพไม่ดีแล้ว การเผาฟางยังเป็นการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศอีกด้วย

น.ส.ไตรทิพย์ สุรเมธางกูร นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลัง งานและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันแนวทางหนึ่งในการจัดการฟางข้าวที่น่าสนใจ คือการนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนโดยการ สนับสนุนของภาครัฐในการใช้ชีวมวล เพื่อทดแทน พลังงาน จากฟอสซิล ซึ่งในหลายประเทศเริ่ม มีการใช้ฟาง ข้าวและฟางข้าวสาลีเป็นเชื้อเพลิงของ หม้อต้มไอน้ำในการผลิตความร้อนและผลิตกระแสไฟฟ้าพลังไอน้ำบ้างแล้ว เช่น ประเทศเดนมาร์ก อังกฤษ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น ขณะที่ประเทศไทยมีความพยายามในการนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานมากแต่ ยังประสบความสำเร็จไม่มากนัก เนื่องจากฟางข้าวเป็นชีวมวลที่มีค่าความร้อนต่ำ อีกทั้งยุ่งยากในการเก็บเกี่ยว และมีค่าขนส่งที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเศษวัสดุจากอุตสาหกรรมที่กำลังใช้ กันอยู่ เช่น แกลบ เศษไม้ เปลือกปาล์ม ส่งผลให้ฟางข้าวกว่า 50% ต้องถูกเผาทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้นเพื่อหาเทคโน โลยีที่นำฟางข้าวไปใช้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกิดประโยชน์ที่ได้ผลคุ้ม ค่าต่อการลงทุน อันจะช่วยหยุดสร้างมลพิษจากการเผาฟาง และได้แหล่งพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น จึงได้ศึกษานโยบายเกี่ยวกับการนำฟางข้าวมาผลิตพลังงานในประเทศไทยด้วยการ ประเมินความเป็นไปได้ใน 4 ด้าน คือ 1. ศักยภาพของทรัพยากรที่สามารถนำออกมา ใช้ได้จริง 2.ความเหมาะสมของประเภท และขนาดของเทคโนโลยีกับศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ 3.ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งในแง่ของผู้ลงทุนและสังคมรวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ และ 4.สิ่งแวดล้อม โดยเสนอแนวทางของนโยบายที่ภาครัฐควรจะสนับสนุน

“ผลจากการประเมินพบว่า ฟางข้าวมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ ด้วยการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงของหม้อต้มน้ำอุตสาหกรรมในโรงงานจะมีศักยภาพ มากกว่าการผลิต กระแสไฟฟ้า และเสนอให้รัฐสนับสนุนการใช้ฟางโดยการให้เงินสนับสนุนต่อปริมาณฟางที่ ใช้ 300-340 บาทต่อกิโลกรัม (แทนที่จะสนับสนุนต่อหน่วยกระแสไฟฟ้าที่ขายให้การไฟฟ้าฯ) เพื่อเปิดโอกาสให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเงินสนับสนุนนี้คำนวณโดยคำนึงถึงต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่ไม่ต้องจ่ายหากเรา หยุดเผาฟางได้”

สำหรับการนำไปใช้ก็สามารถทำได้ทันทีเพราะในภาคกลางยังมีโรงงานที่ใช้เชื้อ เพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน สำหรับหม้อต้มน้ำอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งหากเป็นถ่านหินผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนมาใช้ฟางข้าวได้ทันที แต่ถ้าเป็นน้ำมันเตาก็เปลี่ยนเพียงหัวเตาเท่านั้น ในส่วนการประเมินความคุ้มทุนนั้นพบว่า ฟางข้าวจะต้องมีราคาต่ำกว่า 860 บาทต่อตัน ซึ่งวิธีการลดต้นทุนที่ทำได้เลยในขณะนี้คือ ให้เกษตรกรเก็บฟางข้าวเป็นก้อนสี่เหลี่ยมไว้ข้างนา โดยอัดให้แน่น (ประมาณ 18-20 กก.ต่อฟ่อน) ด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ กันแพร่หลายอยู่แล้ว จากนั้นผู้ประกอบการส่งรถพ่วง 2 ตอนมารับซื้อจากนาโดยตรง และเตรียมความพร้อมของฟางก่อนป้อนเข้าเตาเผาด้วยการสับให้ชิ้นเล็กลง ส่วนในอนาคตเสนอให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกษตรกรเก็บฟางข้าวให้อยู่ ในรูปแบบของเชื้อเพลิงอัดแท่งได้ทันทีที่ทุ่งนา เพื่อให้บรรทุกได้ในปริมาณมากขึ้นในพื้นที่เท่ากัน ซึ่งนอกจากจะลดจำนวนเที่ยวและประหยัดค่าการขนส่งแล้วยังนำไปใช้เป็นเชื้อ เพลิงได้ทันทีโดยไม่ต้องสับ แต่ทั้งนี้ยัง ต้องอาศัยการผลักดันจากภาครัฐในการพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่อไป

การใช้ฟางเป็นเชื้อเพลิงทดแทน เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากจะช่วยให้หยุดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังได้ “พลังงาน” และ “ลดโลกร้อน” ได้อีกด้วย.


ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=339&contentID=37158

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เรือหางกุด นวัตกรรมตามแนวพระราชดำริ

# เรือหางกุด นวัตกรรมตามแนวพระราชดำริ แล่นด้วยแรงดันน้ำ หมดปัญหาสวะติดใบพัด

เรือหางยาว เป็นพาหนะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมืองไทย แต่ข้อจำกัดของเรือหางยาวที่ต้องอาศัยเพลาถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังใบพัดเรือ ทำให้สูญเสียกำลังบางส่วน และขับเคลื่อนไม่คล่องตัว ต้องออกแรงในการบังคับเลี้ยวมาก ไม่ปลอดภัย และปัญหาการพันติดของกอสวะที่ใบพัดที่ติดอยู่ที่หาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริและพระราชอุปถัมภ์การวิจัยคิดค้น เครื่องเรือหางกุด

นายจารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ วิศวกรการเกษตร 8 จากสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าโครงการสร้างและพัฒนาต้นแบบเครื่องเรือหางกุด ตามแนวพระราชดำริ กล่าวถึงโครงการว่า ได้สร้างต้นแบบเครื่องเรือหางกุดขึ้นจากความทรงจำเบื้องต้นของนายสวงศ์ พวงมาลี ซึ่งเป็นผู้สร้างเครื่องยนต์ หางกุด ภายใต้การออกแบบและควบคุมของ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวิศวกรรม กรมการข้าว กระทรวงเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสบผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2509 ทว่าเนื่องจากทางกองวิศวกรรมมีภารกิจอื่นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือทำฝนเทียม ทำให้การพัฒนาเครื่องยนต์ หางกุด นี้ยุติลง มิได้เผยแพร่สู่สาธารณะ

ในเดือน เมษายน 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มูลนิธิโครงการหลวงดำเนินการรื้อฟื้นการพัฒนาเครื่องยนต์หางกุดอีกครั้ง ทางมูลนิธิจึงได้ติดต่อประสานงานให้สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมดำเนินการสร้างต้นแบบดั้งเดิมขึ้นมา

เครื่องยนต์เรือหางกุดนี้ นายจารุวัฒน์ กล่าวว่า เป็นเครื่องยนต์ที่แก้ปัญหาเครื่องยนต์เรือหางยาว โดยการตัดหางยาวทิ้ง จึงเป็นที่มาของชื่อ เครื่องยนต์ หางกุด และเครื่องยนต์จะส่งกำลังไปหมุนใบพัดโดยตรง ไม่ต้องผ่านเพลา ทำให้ในทางทฤษฎีจะไม่มีการสูญเสียกำลังของเครื่องยนต์ไป อีกทั้งในการขับเคลื่อนจะปลอดภัยกว่าเรือหางยาว สามารถขับไปในที่ที่ตื้นเขินและมีเศษสวะได้ดี สามารถเลี้ยวโค้งได้ในวงแคบและกลับลำได้โดยหมุนเรือรอบตัวเอง และยังสามารถถอยหลังหรือหยุดเรือได้โดยกะทันหันโดยการเปลี่ยนทิศทางของน้ำ จึงสามารถใช้ขับเคลื่อนในคลองคดเคี้ยวได้สะดวกและคล่องแคล่วมากกว่าเรือหางยาวในปัจจุบัน

ตัวแบบของเครื่องยนต์ วิศวกรการเกษตร 8 จากสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เล่าว่า เครื่องยนต์ทั่วไปเพลาจะอยู่ในแนวราบ สำหรับเครื่องยนต์หางกุดเพลาต้องอยู่ในแนวดิ่ง เครื่องเรือนี้ออกแบบโดยอาศัยหลักการขับดันของน้ำ โดยดูดน้ำจากด้านล่างขึ้นมาตรงๆ และขับดันน้ำออกสูงกว่าระดับท้องเรือ ต่างจากเครื่องของเรือหางยาวที่ไม่ได้สูบน้ำขึ้นมา แต่จะขับเคลื่อนเรือโดยอาศัยใบพัดขับน้ำออกไป ทำให้เครื่องยนต์ของเรือหางกุดสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้สำหรับบำบัดน้ำเสีย หรือใช้สำหรับสูบน้ำได้อีกด้วย

ขณะนี้เครื่องยนต์หางกุดดัดแปลงใช้ได้เฉพาะกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ขนาด 4 แรงม้าและ 6 แรงม้า แต่ปัจจุบันหาซื้อเครื่องสองจังหวะได้ยาก เพราะรถจักรยานยนต์หรือในเรือจะเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะเสียเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะต้องเติมน้ำมันเบนซินและน้ำมันหล่อลื่นแบบผสมรวมกัน ทำให้มีการเผาไหม้น้ำมันหล่อลื่นไปด้วย ผลที่ได้คือจะมีควันดำและมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในงานวิจัยขั้นต่อไปคือการนำเครื่องยนต์ 4 จังหวะมาปรับใช้ ซึ่งต้องขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยก่อนดำเนินการต่อไป นายจารุวัฒน์ กล่าว

ในด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์ นายจารุวัฒน์ เล่าว่า เมื่อใช้ในการขับเคลื่อนเรือไฟเบอร์กลาสท้ายตัดขนาดความยาว 8 และ 10.5 ฟุต สำหรับเครื่องยนต์ 4 แรงม้าและ 6 แรงม้าตามลำดับ จะได้ความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 6 และ 7.5 กิโลเมตรตามลำดับ ซึ่งหากมองในแง่ของการใช้งานด้านเกษตรกรรมจะมีความเหมาะสม คือ อาจนำไปใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อการเกษตร หรือนำไปใช้สูบน้ำเพื่อการเกษตรก็ได้

สำหรับเครื่องเรือหางกุดนี้ สามารถนำมาใช้ได้กับเรือเกือบทุกชนิด หากมิใช่เรือที่เป็นแบบท้ายตัดก็สามารถดัดแปลงติดเครื่องยนต์ที่ด้านข้างของเรือได้ และเพื่อให้มีศักยภาพดีขึ้น ทางสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมเปิดเผยว่าจะมีการศึกษาเรื่องการเติมอากาศขณะขับเคลื่อนเรือเพื่อเป็นการบำบัดน้ำเสีย แต่ต้องขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยก่อนดำเนินการต่อไป

ที่มา http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/archives/Feb_04/News/17020401.html

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เน็ตบุ๊คพลังแสงอาทิตย์

iUnika Gyy เน็ตบุ๊กสัญชาติสเปน เปิดตัวพร้อมคุณสมบัติที่เล็ก กะทัดรัด และมีน้ำหนักไม่ถึง1กิโลกรัม แถมเกาะกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยโครงสร้าง ผลิตจาก bioplastics ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุ สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และมีคุณสมบัติสุดแหล่มอีกประการคือ สามารถชาร์จประจุแบตเตอรี่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากฝาหน้าที่ติดตั้งเซลล์ แสงอาทิตย์ได้อีกด้วย

รายละเอียดทาง เทคนิคเปิดเผยว่าใช้ processor ความเร็ว 400MHz, แรมขนาด128MB , ความจุ 64GB แบบ ssd/flash memoryระบบปฎิบัติการ Linux มีขนาดหน้าจอ 8 นิ้ว ที่ความละเอียดเพียง 800 x 400 pixels. ซึ่งถูกออกแบบสเปคมาค่อนข้างจุ๋มจิ๋มก็เพื่อให้ประหยัดพลังงานมากที่สุดนั้น เอง ส่วนสนนราคาคือ 160ยูโร ($220) หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 7พันกว่าบาท ครับ

เป็นที่น่าเสียดายว่า การชาร์จประจุแบตเตอรี่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นี้จะสามารถทำได้สูงสุดไม่เกิน 4 วัตต์ แต่แค่นี้ก็คงพอมีเวลาให้เราเก็บเครื่องทันโดยไม่ดับไปเสียก่อน อีกทั้งหากคิดจะเปิดใช้งานจิบกาแฟกลางแจ้งแบบเมืองนอกเพื่อรับแสง ถ้าเป็นบ้านเรา ที่อุณหภูมิแวดล้อม 30กว่าองศาเซลเซียส มีหวังใช้ไปแฮงค์ไปเป็นแน่แท้ แต่ก็ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น บนแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ได้แจ่มแจ๋วเลยทีเดียว

ทีมา http://energybase.net/Solar-Netbook.html

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รถพลังงานไฟฟ้าทำเองของฝรั่ง

0-100 แค่ 3 วิ เอาไปแข่ง drag ได้สบายๆ
http://www.youtube.com/watch?v=369h-SEBXd8

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข่าวผลิตไฟ้าด้วยพลังงานจลน์

คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อที่คนไทยรู้จักดี ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และจากการที่ได้ประจักษ์ถึงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างชะงัด

ทุกวันนี้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นของโครงการ ได้ช่วยให้ประชาชนมีความสุขขึ้น มาก ดังที่ นายวัชระ เติมวรรธนภัทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ บอกว่า หลังจากมีโครงการคลองลัดโพธิ์ ในปี 2549 ก็ไม่มีปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อีกเลย ช่วงฤดูน้ำหลากสามารถระบายน้ำได้เร็วในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงน้ำก็ไม่ไหลท่วม พื้นที่อีก

แต่โครงการคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำลังจะก่อเกิดประโยชน์มหาศาลตามมาอีก เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้ นายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี รับไปพิจารณาว่าจะใช้พลังงานน้ำที่ระบายผ่านคลองทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีก หรือไม่

จึงเป็นที่มาของโครงการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของคลองลัดโพธิ์ ด้านไฟฟ้าพลังน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมชลประทาน กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการศึกษาวิจัยจนได้ต้นแบบ กังหันพลังน้ำอาศัย พลังงานจลน์จากความเร็วของกระแสน้ำ ไหลขึ้น 2 แบบ คือ แบบหมุนตามแนวแกน และแบบหมุนขวางการไหล ทำการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า ติดตั้งบริเวณประตูระบายน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

กังหันแบบหมุนตามแนวแกน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร และแบบหมุนขวางการไหล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตร ยาว 2.50 เมตร ทั้ง 2 แบบจะประกอบกับโครงเหล็กเป็นต้นกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ แม่เหล็กถาวร มีเกียร์ทดอยู่ภายในกล่องที่จมน้ำได้

กำลังและแรงดันไฟฟ้าที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วรอบ เช่นหากความเร็วที่ 200 รอบต่อนาที จะได้กำลังไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ต่อวัน และ Open Circuit Voltage 650 โวลต์ จะเป็นต้นกำลังไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบแม่เหล็กถาวร ทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าแบบกระแสสลับ และใช้ Rectifier เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าเป็นกระแสตรงแล้วเชื่อมต่อเข้ากับ Inverter & Controller ซึ่งจะปรับแรงดันและความถี่เพื่อเชื่อมต่อ กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง จากการทดลองเดินกังหันพลังน้ำต้นแบบพบ ว่าได้กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ 5.74 กิโลวัตต์ต่อวัน

ซึ่งความรู้ที่ได้จากการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของคลองลัดโพธิ์นี้จะถูก นำไป ต่อยอดเพื่อการ ผลิตกังหันพลังน้ำในประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังต้องใช้วัสดุอุปกรณ์จาก ต่างประเทศอยู่ แต่เมื่อมี การขยายผลจนสามารถประยุกต์ใช้กับ ประตูระบายน้ำของกรมชลประทานที่มีอยู่ ทั่วประเทศได้ในอนาคตแล้ว ก็จะไม่ต้องนำเข้าวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศ อันจะช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศลงได้อย่างมหาศาล และยังได้พลังงานไฟฟ้า เพิ่มขึ้นมา.

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แดนกังหันลมแห่งอาเซียน

อีกไม่นาน บ้านเราอาจเป็นแดนกังหันลมแห่งอาเซียนกันแล้ว เพราะดูเหมือนว่าช่วงนี้มีหลายหน่วยงานต่างแสวงหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ได้มีความพยายามใช้พลังงานทดแทนหลากหลายแบบ ทั้งจากพืชพลังงาน พลังงานชีวภาพ ชีวมวล และล่าสุดคือพลังงานจากธรรมชาติโดยเฉพาะพลังงานจากลมที่มองว่าอีกหนึ่งช่อง ทางที่จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้

ก่อนหน้านี้มีนักวิจัยจากศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ นำโดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษดี ได้ดำเนินโครงการ : การศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบน โดยมีสำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการค้นคว้าวิจัย

นักวิจัยกลุ่มนี้เน้นลมภูเขาตามดอยต่างๆ เพื่อติดตั้งกังหันลม และผลิตกระแสไฟ้า ซึ่งพบว่าในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีลมภูเขาที่อัตราความเร็วเกิน 4 เมตรต่อ 1 วินาที ในระดับที่สูงกว่าพื้นที่พื้น 40-80 เมตร มีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ บนดอยกิ่วลม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ที่ดอยม่อนล้าน อ.พร้าว และที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

ล่าสุดมีนักวิจัยจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) นำโดย ดร.รัดเกล้า พันธุ์อร่าม ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ศึกษาวิจัยเพื่อหาพื้นที่ที่มีศักยภาพติดตั้งกังหันลม ด้วยการทำโครงการศึกษาศักยภาพพลังงานของประเทศไทยด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ด้านอุตุนิยมวิทยา 3 มิติ ซึ่ง วช.ได้ให้การสนับสนุนเช่นเคย เพราะหากใช้วิธีการสุ่มตั้งเสาตรวจวัดลม โดยไม่ทราบข้อมูล ต้องใช้งบประมาณสูงมาก

ผลการประเมิน รศ.ดร.ปรุงจันทร์ วงศ์วิเศษ ผู้ร่วมวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระบุว่า ความแรงของลมในประเทศไทยขึ้นอยู่กับฤดูมรสุมและระดับความสูงจากพื้นดิน มี 2 ช่วงด้วยกันคือ

1.ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบพื้นที่มีศักยภาพพลังงานลมสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 6-7 เมตรต่อวินาที ที่ระดับความสูง 50 เมตรเหนือพื้นดิน บริเวณพื้นที่ภาคใต้ด้านอ่าวไทย ตั้งแต่ จ.ชุมพร ไปจนถึง จ.สงขลา ที่ภาคกลางบริเวณรอยต่อ จ.ลพบุรี กับ จ.สระบุรี ที่ จ.เพชรบุรี จ.กาญจนบุรี และ จ.ราชบุรี ส่วนภาคอีสานมีบางส่วนคือที่ จ.นครราชสีมา และ จ.ชัยภูมิ

2.ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ได้รับอิทธิพลสูงจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดในบริเวณภาคอีสาน รวมถึงภาคใต้บริเวณ จ.นครศรีธรรมราช และพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จนถึง จ.ปัตตานี โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยสูงสุด 6-7 เมตรต่อวินาทีที่ระดับความสูง 50 เมตร

เมื่อทราบข้อมูลด้านศักยภาพพลังงานลมแล้ว จะมีการศึกษารายละเอียดเพื่อติดตั้งกังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้า แต่ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม และความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ด้วย

"ดลมนัส กาเจ"
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20091028/34489/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%A1.html

ม.เกษตรฯผลิตกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าสำเร็จเป็นรายแรกของโลก

ม.เกษตรฯผลิตทำได้สำเร็จเป็นรายแรกของโลก

ม.เกษตรฯสนองแนวพระราชดำริ"ในหลวง"ผลิตกังหันพลัง น้ำไกลใช้ผลิตไฟฟ้าได้สำเร็จเป็นรายแรกของโลก เผยทรงรับสั่งไว้เมื่อปี 49 แนะให้ใช้พลังงานไหลของน้ำผ่านคลอง ให้เป็นประโยชน์ กรมชลฯ เตรียมขยายผลนำไปติดตั้งประตูระบายน้ำทั่วประเทศ 361 แห่ง ชี้ช่วยชาติประหยัดไฟได้ถึง 448 ล้านบาทต่อปี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บางเขน เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 5 พ.ย. ได้แถลงข่าว นักวิจัยมก.ประสบความสำเร็จ ออกแบบกังหันพลังน้ำต้นแบบผลิตกระแสไฟฟ้าตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำพลังงานน้ำที่ระบายผ่านประตูน้ำคลองลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จ

ดร.เจษฎา แก้วกัลยา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มก. ในฐานะผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านไฟฟ้าพลังน้ำ แถลงข่าวว่า โครงการนี้ได้นำพลังงานน้ำที่ระบายผ่านคลองมาใช้ประโยชน์ ตาม พระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาสู่การออกแบบกังหันพลังน้ำต้นแบบ ติดตั้งบริเวณตอม่อท้ายประตูคลองลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีกำลังผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 5.74 กิโลวัตต์ ซึ่งการผลิตชุดกังหันพลังน้ำนี้ใช้อุปกรณ์จากต่างประเทศ ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นผลงานการคิดค้นของนักวิจัยคนไทย

ด้าน รศ.ชัยวัฒน์ ขยันการนาวี หัวหน้าโครงการศึกษาฯ กล่าวว่า ทีมนักวิจัย ได้ออกแบบชุดกังหันพลังน้ำต้นแบบ ที่สอดคล้องกับการบริหารจัดการประตูคลอง ลัดโพธิ์ สะดวกต่อการปฏิบัติงาน และมีราคาประหยัด คือแบบหมุนตามแนวแกน และแบบหมุนขวางการไหลของน้ำ ซึ่งชุดกังหันน้ำทั้ง 2 แบบจะประกอบและติดตั้งกับโครงเหล็กที่ปรับขึ้นลงได้ที่ท้ายประตูคลองลัด โพธิ์ ใช้กังหันพลังน้ำเป็นต้นกำลังที่เชื่อมต่อกับเกียร์ทดรอบไปหมุนเครื่อง กำเนิดไฟฟ้า แบบแม่เหล็กถาวร ที่บรรจุภายในกล่องที่จมน้ำได้ เมื่อเดินชุดกังหันน้ำต้นแบบจะได้พลังงานไฟฟ้าเป็นแบบกระแสไฟฟ้าสลับ แล้วเปลี่ยนเป็นกระแสตรงเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์แปลงและควบคุมไฟฟ้า เพื่อเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง

ส่วน ดร.ชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสกับนายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ และนายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี ณ สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2549 รับสั่งว่า “โครงการคลองลัดโพธิ์จะทำประโยชน์ได้อย่างมหัศจรรย์ มีพลังงานมหาศาล จะใช้เป็นพลังงานน้ำที่ระบายผ่านคลอง” ซึ่ง จากความสำเร็จในครั้งนี้ กรมชลประทานจะขยายผลด้วยการนำชุดกังหันน้ำไปติดตั้งบริเวณประตูระบายน้ำ บรมธาตุ จ.ชัยนาท จำนวน 4 ชุด ในปี 2553 เพื่อให้ได้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันไม่น้อยกว่า 80 กิโลวัตต์

ทั้งนี้ จากการคำนวณ หากนำระบบนี้ไปติดตั้งในบริเวณประตูระบายน้ำของชลประทานจำนวน 361 แห่ง จะผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ หรือที่เรียกกันว่าพลังงานจลน์ได้ 138,060,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นค่าฟ้า 448,695,000 ล้านบาทต่อปี (ค่าไฟหน่วยละ 3.25 บาท) โดยมีกำลังการผลิตวันละ 20 ชั่วโมง ในการคำนวณที่ 300 วันในรอบ 1 ปี

ขณะที่นายยอดชาย เตียเปิ้น อาจารย์จากวิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ ม.เกษตร วิทยาเขตศรีราชา ในฐานะผู้ร่วมทีมวิจัย กล่าวว่า รูปแบบการผลิตกังหันน้ำต้นแบบดังกล่าว ประเทศบราซิลและเกาหลีใต้ ใช้กับการขึ้นลงของน้ำทะเลมาผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ในรูปแบบที่ให้น้ำไหลผ่านกังหันบริเวณจุดน้ำไหล ยังไม่มีประเทศใดทำ ในทางวิชาศาสตร์เรียกว่าการใช้พลังงานจลน์ ขณะที่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนเรียกว่า พลังงานศักย์ ที่ต้องนำน้ำไปปล่อยลงบนที่สูง เพื่อให้เป็นพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า

อนึ่ง สำหรับความเป็นมาของโครง การคลองลัดโพธิ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2538 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแก่ นายรุ่งเรือง จุลชาต อธิบดีกรมชลประทานสมัยนั้น พร้อมด้วย พล.อ.จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ นายจริย์ ตุลยานนท์ อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

ประกอบด้วยกรมชลประทาน จ.สมุทรปราการ กรมทางหลวง กรมอุทก ศาสตร์ กองทัพเรือ ร่วมกันศึกษาพิจารณาวางโครงการปรับปรุงการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ พร้อมก่อสร้างอาคารประกอบตามความเหมาะสม เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการ ระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีระยะทางการไหลอ้อมผ่านพื้นที่บริเวณบางกะเจ้า ที่มีลักษณะคล้ายกระเพาะหมู ระยะทาง 18 กม. ในเขต จ.สมุทรปราการ โดยพิจารณาขุดลอกคลองลัด เพื่อร่นระยะทางการไหลของน้ำเหลือเพียง 600 เมตร ลงสู่ปากอ่าวไทย ช่วยเสริมการระบายน้ำจากคลองธรรม ชาติ ทำให้สามารถระบายน้ำได้รวดเร็ว และช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentId=30405&hilight=%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงการพัฒนาเครื่องต้นแบบผลิตไบโอดีเซล

จากปัญหาด้านวิกฤติพลังงานที่ส่งผลลุกลามมาถึงปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวด ล้อมของประชาชน “โครงการพัฒนาเครื่องต้นแบบผลิตไบโอดีเซลและแหล่งเรียนรู้ไบโอดีเซลชุมชน ตำบลท่าทอง” ของ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก จึงถือกำเนิดขึ้นมา โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่นำไปใช้งานได้ในระดับชุมชน ซึ่งจะลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเชื้อเพลิง ช่วยป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน

รศ.พันธ์ณรงค์ จันทร์แสงศรี หัวหน้าโครงการพัฒนาเครื่องต้นแบบไบโอดีเซลฯ เปิดเผยว่า โครงการนี้ได้ตอบโจทย์และเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดยคิดถึงการนำเอาน้ำมันพืชใช้แล้วที่มีอยู่มากในพื้นที่ของตำบลท่าทอง และตำบลท่าโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ตัวมหาวิทยาลัยนเรศวรมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

“จากการศึกษาพบว่าน้ำมันพืชที่ใช้แล้วเหล่านี้จะมีผู้มารับซื้อและนำไปผ่าน กระบวนการที่ทำให้ใสและไม่มีตะกอน แล้วนำกลับมาขายในราคาถูก พ่อค้า แม่ค้าหรือชาวบ้านไม่รู้และเห็นว่ามีราคาถูก ก็จะซื้อแล้วนำกลับมาใช้ทอดซ้ำ ซึ่ง น้ำมันที่ใช้ซ้ำเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดังนั้นถ้าเราตัดตอนนำน้ำมันพืชเหล่านี้มาทำเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตไบโอดีเซล ส่วนหนึ่งจะช่วย ชาวบ้านในเรื่องของสุขภาพ อีกส่วนหนึ่งก็จะช่วยให้เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มกันผลิตไบโอดีเซลไปใช้กับ เครื่องจักรกลทางการเกษตร และช่วยในเรื่องการลดรายจ่ายให้เขาสามารถดำรงชีวิตได้ดีขึ้นภายใต้สภาวะที่ มีวิกฤติราคาน้ำมัน” รศ.พันธ์ณรงค์กล่าว

“ไบโอดีเซล” คือ น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผ่านการผลิตมาจากน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ผสมกับ เอทานอล (Ethanol) หรือ เมทานอล (Methanol) เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลและสามารถใช้ทด แทนได้ โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซลนั้นมีหลากหลายชนิด ที่นิยมคือ น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันพืชใช้แล้ว และน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ

โครงการนี้ได้ศึกษาพัฒนาออกแบบเครื่องผลิตไบโอดีเซล ที่มีขนาดกะทัดรัด สามารถนำไปใช้งานได้ในระดับชุมชนอย่างไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่น และมีต้นทุนการผลิตต่อเครื่องประมาณ 45,000-50,000 บาท โดยขั้นตอนจะนำน้ำมันพืชเก่าที่ใช้แล้ว 100 ลิตร มาผ่าน กระบวนการที่เรียกว่า “ทรานเอสเตอริฟิเคชัน” เพื่อให้ได้น้ำมัน “ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์” จำนวน 70 ลิตร ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง น้ำมันดีเซลมากที่สุด เหมาะที่จะนำไปใช้กับเครื่องจักรกลทางการเกษตรขนาดเล็กแบบสูบเดียว

น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้จะมีต้นทุนประมาณ 21-22 บาทต่อลิตร โดยต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคารับซื้อน้ำมันพืชเก่า ลิตรละ 6-7 บาท หากเกษตรกรสามารถรวมตัวกันนำน้ำมันพืชเก่าที่ใช้แล้วในครัวเรือนมารวมกัน ผลิตก็จะช่วยลดต้นทุนไปได้มาก

โครงการพัฒนาเครื่องต้นแบบผลิต ไบโอดีเซลฯ นอกจากจะคิดค้นและพัฒนา วิธีการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยง่ายแล้ว ยังได้ร่วมมือกับ “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองพิษณุโลก” หรือ กศน. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนและตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไบ โอดีเซลขึ้นที่ “ตำบลท่าทอง” เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบถ่ายทอดองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ของจังหวัด

...โครงการนี้นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง มีรายได้เพิ่ม พึ่งพาตนเองได้ เยาวชนในพื้นที่ก็จะเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและอันตรายจากน้ำมันพืชใช้ ซ้ำซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคภัยต่างๆ อีกด้านหนึ่งยังเป็นการช่วยกันตัดวงจรการนำน้ำมันพืชใช้แล้วกลับมาบริโภค และลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งลงสู่ธรรมชาติ ด้วยการนำมาเพิ่มมูลค่าผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การเป็นชุมชนสุขภาวะ.

ทีมา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=29612

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

http://www.thaibiogas.net/th/biogas

http://www.thaibiogas.net/th/biogas

ก๊าซขี้หมู

"ก๊าซชีวภาพ” หรือ “ก๊าซขี้หมู”ของบ้านสบสาหนองฟาน ต.ดอน แก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างเจ้าของฟาร์มกับชาวบ้านเมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหามลพิษและกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงหมู จึงทำให้ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์ม ร่วมกับหน่วยงานราชการสร้างระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง มลพิษและแมลงวัน แล้วก็ต่อท่อก๊าซไปให้ชาวบ้านได้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ชาวบ้านสามารถประหยัดค่าก๊าซหุงต้มไปได้ไม่น้อยกว่าครัวเรือนละ 50-100 บาทต่อเดือน

หลังจากนั้นชาวบ้านต่างคนก็ต่างใช้โดย ปล่อยบ่อหมักก๊าซทำงานไปตามธรรมชาติ โดยขาดการดูแลรักษา เวลาผ่านไปปริมาณก๊าซเริ่มน้อยลงจนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จนชาวบ้านขาดความเชื่อมั่นในระบบพลังงานทดแทน ส่งผลให้ชาวบ้านหลายคนเริ่มคิดว่าการใช้พลังงานทดแทนที่จะมาแทนก๊าซหุงต้ม ไม่น่าจะเป็นไปได้จริงอย่างยั่งยืน ทำให้สมาชิกที่ใช้ก๊าซในหมู่บ้านเริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ จากเดิมที่ใช้กันทั้งหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 100 หลังคาเรือนก็ลดลงเหลือไม่ถึง 60 หลังคาเรือน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหา วิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึงได้วิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกร โดยการ แปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน”

นายสุรศักดิ์ นุ่มมีศรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระบุว่า ถ้าปล่อยแบบนี้ต่อไปพลังงานก็จะถูกทิ้งร้าง ไม่ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ ชาวบ้านก็จะไม่ได้มีพลังงานทางเลือกอื่น จึงได้จัดเวทีพบปะพูดคุยเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันขึ้นมาเพื่อให้ชาวบ้านได้ มองเห็นว่าแต่ก่อนนี้เป็นอย่างไร ปัจจุบันระบบก๊าซเขาเป็นอย่างไร เสื่อมโทรม มากน้อยแค่ไหน โดยให้พ่อหลวงเป็นคนเล่าให้ฟัง แล้วก็ถามถึงอนาคตของชาวบ้านว่าอยากจะมีทางออกอย่างไรโดยให้ทุกคนได้ร่วม แสดงความคิดเห็น ชาวบ้านก็บอกว่าอยากจะมีพลังงานที่ดีขึ้น มีพลังงานที่เพียงพอ จึงได้เชิญนักวิชาการมาพูดคุยให้ฟังว่า ถ้าจะทำให้พลังงานเพียงพอก็จะต้องมีการล้างบ่อ มีการเปลี่ยนระบบท่อใหม่ ชาวบ้านก็หาทางออกร่วมกันอีกครั้งเพื่อรักษาระบบพลังงานทดแทนนี้ โดยเต็มใจที่จะจ่ายครัวเรือนละ 10 บาทต่อเดือน สำหรับเป็นค่าดูแลรักษาระบบการผลิตและระบบท่อส่งก๊าซทั้งหมด

นายสุทัศน์ คำมาลัย ผู้ใหญ่บ้านบ้านสบสาหนองฟาน และเจ้าของฟาร์มหมูซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซชีวภาพให้กับชุมชน เล่าว่าปัจจุบันมีชาวบ้านที่ใช้ก๊าซจากขี้หมูจำนวน 87 ครัวเรือน โดยมีกติกาของชุมชนคือเก็บบ้านละ 10 บาท ส่วนบ้านที่ค้าขายอาหารทำร้านก๋วยเตี๋ยวก็เต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มเป็นเดือนละ 30 บาท โดยเงินที่รวบรวมได้จะนำไปฝากธนาคาร เพื่อเอาไว้บำรุงรักษากรณีท่อแตก ล้างบ่อ และซ่อมระบบ

“ชาวบ้านตกลงกันว่าจะล้างทุก ๆ 6 เดือน เพราะที่ผ่านมาเกือบ 10 ปีเราไม่เคยได้ล้างบ่อเลย เพราะไม่เคยรู้ว่าจะต้องล้าง ทำให้ปีหลัง ๆ มีก๊าซน้อยมาก เพราะว่าข้างในบ่อหมักก๊าซเต็มไปด้วยขยะ และเศษดินเข้าไปปะปนจนแน่นบ่อ จนต้องใช้เวลาล้างกันเป็นอาทิตย์ หลังจากนั้นจึงมีก๊าซขึ้นมาสม่ำเสมอ แต่จะมีปัญหาบ้างก็ตอนฝนตกหนัก เพราะมีน้ำเข้าไปในบ่อเยอะเกินไปทำให้ก๊าซน้อยลง และบางครั้งในหน้าหนาวก็อาจจะมีก๊าซน้อยเพราะอากาศเย็นอุณหภูมิไม่เหมาะสม แต่ก๊าซที่ได้ก็เพียงพอต่อการใช้งานทุกครัวเรือน เพราะชาวบ้านใช้แค่หุงต้มไม่ได้ทำอะไรมาก แต่ทุกบ้านก็จะมีถังก๊าซหุงต้มสำรองไว้” สุทัศน์กล่าว

...ก๊าซขี้หมูตอนนี้มีให้ใช้ได้ทั้งวันและไม่มีกลิ่นขี้หมู โดยแตกต่างจากก๊าซหุงต้มก็ตรงเรื่องของความร้อนที่จะร้อนช้ากว่าเท่านั้น แต่ก็สามารถประกอบอาหารทุกอย่างได้ตามปกติ…นับเป็นความสำเร็จที่เกิดจากความ ร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=345&contentID=28500

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

สวัสดัผมวันนี่้ผมได้เข้าไปที่เว็บการไฟฟ้าฝ่ายพลิตกแห่งประเทศไทย ผมได้เข้าไปในส่วนของพลังงานทดแทนผมได้เจอ วิธีการทำ ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ ในเว็บได้ บอกว่ามีส่วนประกอบอะไรบาง หลักการทำงาน และวิธีการนำไปใช้ เพื่อนอยากทราบรายละเอียดเข้าไปดูได้ที่ http://www2.egat.co.th/re/egat_dryer/dryer_section.htm
อ๋อในเว็บมีให้โหลดเอกสารด้วยนะ

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Lemon Battery

Battery จากมะนาว พอดีผมได้ไปอ่านข้อมูลเว็บเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ได้จากมะนาวครับในเว็บมีวิธีการทำทุกขั้นตอนเลยครับลองเข้าไปอ่านดู
อ่านที่ http://hilaroad.com/camp/projects/lemon/lemon_battery.html

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ย่อยสลายโฟมเป็นกาว

ย่อยสลายโฟมเป็นกาว

ตอนเด็กๆ ผมเคยสงสัยว่าพ่อตัดรองเท้ายางมาแช่น้ำมันเบนซินทำไม?

และ ก็มาถึงบางอ้อเมื่อพ่อบอกว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ย่อยสลายพลาสติกเหลือใช้ให้ เป็นกาวยาง เพราะเมื่อก่อนเป็นรองเท้าฟองน้ำเก่าๆ ขาดๆ ที่กลายเป็นขยะมามีมาก ปล่อยทิ้งไว้ก็กลายเป็นขยะไร้ค่า จึงนำแช่น้ำมันเบนซินทำเป็นกาวยางใช้ประโยชน์ต่อ

วิธีนี้มีมานานแล้ว ซึ่งพ่อของผมเองก็คงจดจำมาจากคนรุ่นปู่ย่าตายายเช่นกัน และถ่ายทอดมาถึงรุ่นผม แต่ปัจจุบันรองเท้ายางเริ่มนิยมใช้กันน้อยลง ขยะที่มากขึ้นทุกวันกลายเป็นขยะจากโฟม ทั้งยังกำจัดยากอีกด้วย ผมจึงลองนำขยะจากโฟมมาทำเป็นกาวยางด้วยวิธีเดียวกันนี้

วิธีทำกาวยางจากโฟม

1. ทำความสะอาดขยะจากโฟมแล้วตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เพิ่มพื้นผิวหน้าสัมผัสเพื่อให้ละลายเร็วขึ้น

2. จากนั้นนำมาบรรจุใส่ขวดโหลตามขนาดที่ต้องการ

3. เทน้ำมันเบนซินลงไปในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 โดยปริมาณโฟม 1 ส่วน และน้ำมันเบนซิน 2 ส่วน

4. ปิดฝาแล้วทิ้งไว้นานจนกว่าโฟมจะละลายกลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำมัน ซึ่งประมาณเกือบ 1 เดือน อาจตรวจเช็คด้วยการใช้ไม้ค้น ถ้าเหนียวพอดีสำหรับเป็นกาวได้ก็ถือว่าใช้งานได้

และหากต้องการให้เนื้อกาวเข้มข้นเป็นพิเศษอาจเพิ่มปริมาณของโฟมมากขึ้น และถ้าต้องการให้เป็นกาวน้ำก็ลดปริมาณโฟมลง

หลังจากได้เนื้อกาวแล้วที่เสร็จสมบูรณ์แล้วควรเก็บรักษาโดยการปิดฝาให้สนิทหลังใช้งานทุกครั้งเพื่อให้ใช้ได้นานๆ

วิธีนี้ใช้หลักย้อนกระบวนการกลั่นของน้ำมัน จากปกติที่นำน้ำมันดิบมากลั่นกรองเป็นน้ำมันต่างๆ เช่น เบนซิน ดีเซล หรือก๊าซหุงต้ม ซึ่งกลั่นเสร็จจะเหลือเป็นยางมะตอย เมื่อทำย้อนกระบวนการกลั่นโดยเอาพลาสติกมาแช่ในน้ำมันก็จะได้เป็นกาวยาง

ประโยชน์ของกาวยางจากโฟม

1. มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดีเหมาะแก่การซ่อมรองเท้า และเดินท่อพีวีซี

2. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลง

3. ช่วยกำจัดขยะจากโฟมไปในตัว

4. ใช้งานได้นาน และเก็บรักษาง่าย

ผมคิดว่าการกำจัดขยะด้วยการย่อยสลายโฟมเป็นกาวนี้เป็นวิธีที่น่าแบ่งปัน เพราะทำได้ง่ายแม้โฟมจะเป็นขยะที่จัดการยาก และกาวยางยังนำไปใช้งานอย่างได้ผลด้วย ลองนำวิธีของผมไปใช้ และอย่าลืมบอกต่อด้วยนะครับ

ที่มา www.cheewajit.com

http://www.school.net.th/schoolnet/article/articles_read.php?article_id=347