วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

จักรยานไฟฟ้าแอลเอฝีมือคนไทย

ปัจจุบันประชากรโลกกำลังตื่นตัวต่อสภาวะโลกร้อนอันสืบเนื่องมาจากการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ก่อให้เกิดปรากฏ การณ์ธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างรุนแรง หลายประเทศรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคขนส่งและคมนาคมโดยหันมาใช้พลังงานทดแทนในรูป ของพลังงานไฟฟ้า

รถจักรยานไฟฟ้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจ

นายประกิต เลิศเยาวฤทธิ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัทแอลเอ อี-ไร้ด์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แอลเอฯ รับจ้างผลิตสกูตเตอร์และจักรยานไฟฟ้าให้ประเทศสหรัฐอเมริกามานาน 10 ปี โดยแอลเอฯ จะรับทำฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แต่ระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นสมองกลควบคุมการทำงานและแบตเตอรี่นั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ กระทั่ง 5 ปี ให้หลังมานี้พบว่าผู้บริโภคในต่างประเทศให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พลังงาน มากขึ้น และยังมีความพยายามนำพลังงานไฟฟ้าเข้ามาทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมี แนวโน้มว่าราคาจะแพงขึ้น

สกูตเตอร์และรถจักรยานไฟฟ้า จึงเป็นพาหนะอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังอยู่ ในกระแสความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มประเทศแถบยุโรปกลาง ฮอล แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ซึ่งถือเป็นตลาดหลักและมีกำลังซื้อ ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวไปตามกระแส ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีแนวโน้มหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงได้จริง

จักรยานแอลเอ จึงเข้ารับความช่วยเหลือจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม ไทย (iTAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ด้านเงินทุนและได้เชิญดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล อาจารย์คณะบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มาให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมในโครงการ “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของจักรยาน และสกูตเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่”

โครงการดังกล่าวเป็นการศึกษาและทดสอบเพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ สมรรถนะของรถจักรยานและสกูตเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธียม -ไอออน เนื่องจากแบตเตอรี่จะคงทน ปลอดภัย สามารถใช้งานได้นานนั้นขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วัสดุในการประกอบแบตเตอรี่ รวมถึงสภาวะการทำงานของแบตเตอรี่ในขณะขับขี่ โดยผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงออกแบบการทำงานของจักรยาน ไฟฟ้า ให้ได้สมรรถนะที่เหมาะสมกับการ ใช้งาน สภาพภูมิอากาศและสอดคล้องกับมาตรฐานของแต่ละประเทศ ซึ่งขณะนี้โครงการได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว

จุดเด่นของรถจักรยานไฟฟ้าและสกูตเตอร์ คือ ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และยังมีระยะการขับขี่ต่อการอัดประจุหนึ่งรอบไม่น้อยกว่า 20 กิโลเมตร โดยไม่ปล่อยไอเสียหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รถจักรยานไฟฟ้าถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานสะอาดอย่างแท้จริง เพราะสามารถใช้แรงคนปั่นหรือใช้พลังงานไฟฟ้าทำให้รถจักรยานขับเคลื่อนได้ตาม ต้องการ

ดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล กล่าวว่า ได้เข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพและการดูแลรักษาแบตเตอรี่ ตะกั่วกรดและลิเธียม-ไอออน พบว่า บริษัทแอลเอฯ ได้สั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งหมด เมื่อนำมาเก็บรักษาไว้นานทำให้เสื่อมสภาพหรือหมดอายุไปโดยที่เราเองไม่ทราบ หากไม่มีการตรวจสอบก่อนนำไปประกอบเป็นรถจักรยานไฟฟ้า ปัญหาของแบตเตอรี่นำเข้าจากต่างประเทศรวมถึงชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตรถ จักรยานไฟฟ้าทั้งหมดส่วนใหญ่จะเป็นการสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น ดังนั้นการแก้ไขดัดแปลงอุปกรณ์อิเล็กทรอ นิกส์ทางบริษัทไม่สามารถกระทำได้เพราะติดเงื่อนไขลิขสิทธิ์ และความยุ่งยากในการประสานงาน

จึงเห็นว่าคอนโทรล เลอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ เป็นหัวใจและสมองควบคุมการทำงานของจักรยานไฟฟ้าทั้งหมด คุณภาพของจักรยานไฟฟ้าขึ้นอยู่กับความสามารถของคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมการ ทำงานของมอเตอร์ให้มีสมรรถนะตามความต้องการของผู้ใช้และสามารถควบคุมกระแส ไฟฟ้าให้ไหลเข้า-ออกในแบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จึงดำเนินโครงการพัฒนาคอนโทรล เลอร์ขึ้นมาเอง ขณะนี้เครื่องต้นแบบกำลังถูกทดสอบสมรรถนะการทำงาน ก่อนเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับรถจักรยานไฟฟ้าสำหรับตลาดต่างประเทศ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=59928

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น