วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สร้างหมู่บ้านต้นแบบพลังงานทดแทน

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมนุษย์ทั่วโลกได้ใช้พลังงานทางธรรมชาติกันอยู่ทุกวัน ทั้งการหุงต้มที่เริ่มแรกมาจากการใช้ไม้ในการจุดไฟ ปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ต่อมาก็มีการใช้ก๊าสหุงต้ม แต่ก็ยังคงสิ้นเปลืองพอ ๆ กัน ถัดมาก็เป็นการสร้างพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ให้แสงสว่าง นำมาใช้ให้เกิดพลังงานลมในเครื่องปรับอากาศ พัดลม รวมถึงการขุดเจาะน้ำมันจากใต้ผืนดินเพื่อเอามาใช้ในการขับขี่ยานพาหนะหรือ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ในเครื่องจักรต่าง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างทำให้มนุษย์เกิดความสุขสบาย แต่สิ่งที่ทุกคนมองข้ามคือพลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานสูญเปล่า สักวันหนึ่งอาจจะหมดไป ดังนั้นล่าสุดทางสถาบันวิจัยและพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้สร้างหมู่บ้านต้นแบบพลังงานทดแทนขึ้นเพื่อให้ เกิดจิตสำนึกกับประชาชน และช่วยกันรักษาธรรมชาติให้คงอยู่

ดร.พฤกษ์ อักกะรังษี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การทำหมู่บ้านต้นแบบแห่งแรกนี้ได้สร้างขึ้นที่หมู่บ้านไร่ป่าคา ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ โดยการสนับสนุนจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ให้เข้าร่วมโครงการทางด้านพลังงาน ในระหว่างปี 2550-2552 เพราะมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพด้านพลังงานมีจุด เด่นด้านผู้นำและความเข้มแข็งของชุมชนและได้รับการมอบหมายจากจังหวัดลำพูน ให้เป็นศูนย์เรียนรู้พลัง งานชุมชนด้วย ในส่วนที่สถาบันฯ ที่ได้เข้าไปให้การส่งเสริมและผลักดันหมู่บ้านแห่งนี้ ดำเนินการในด้านการผลิตพลังงานทดแทนต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนให้สร้างระบบก๊าซชีวภาพจากมูลโคขาว ซึ่งสามารถช่วยประหยัดเงินค่าก๊าซหุงต้มได้มากถึงเดือนละประมาณ 13,000 บาท การ สร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่ใช้แล้ว ซึ่งช่วยประหยัดเงินการใช้น้ำมันดีเซลลงจากเดิมมาก การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตน้ำดื่มภายในหมู่บ้านและการนำถ่านไม้มา ผลิตเป็นเชื้อเพลิงใช้สำหรับเครื่องยนต์การเกษตรการดำเนินงานที่ผ่านมานับ ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน รวมทั้งหน่วยงาน ต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านพลังงานของหมู่บ้านแห่งนี้ให้บรรลุเป้าหมายด้วยดี ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและ พัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด

นายอยุธ ไชยยอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านไร่ป่าคา กล่าวว่า ปัจจุบันหมู่บ้านมีพลัง งานทดแทนใช้หลากหลายประเภท เช่น การสร้างระบบก๊าซชีว ภาพขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร จากมูลวัวหรือ ที่เรียกว่ามูล โคขาวลำพูน จำนวน 70 ตัว ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคจำนวน 20 คน ซึ่งมีแนวคิดว่าระบบก๊าซชีวภาพสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานได้ จริง จึงได้เข้าร่วมโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2545 ด้วยการสร้างระบบก๊าซชีวภาพที่สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทดแทนก๊าซหุงต้มได้ 23 กิโลกรัมต่อวัน เฉลี่ยสามารถประหยัดเงินค่าก๊าซหุงต้มได้ประมาณเดือนละ 13,000 บาท นอกจากนั้นยังได้ปุ๋ยน้ำมาใช้รดหญ้า สำหรับใช้เลี้ยงวัว ประมาณ 4,600 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และได้ปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นปุ๋ยใส่พืชผลทางการเกษตรอีกประมาณ 14,400 กิโลกรัมต่อปี นอกจากนั้นแล้ว ยังสร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่ใช้แล้ว โดยอัตราการผลิตของเครื่องสามารถผลิตไบโอดีเซลได้วันละ 150 ลิตร แล้วนำไปเติมเครื่องยนต์การเกษตรทดแทนการซื้อน้ำมันดีเซลจากภายนอก โดยเฉพาะในช่วงที่น้ำมันดีเซลมีราคาแพง ไบโอดีเซลเป็นที่ต้องการของชุมชนมาก ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับหมู่บ้านได้มากถึงปีละ 70,000 บาท อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ ยังพยายามคิดหาพืชพลังงานอื่น ๆ เพื่อมาทดแทนวัตถุดิบจากน้ำมันที่ใช้แล้ว โดยช่วยกันคิดหาพืชน้ำมันมาทดแทน เพราะคิดว่า ถ้าพึ่งพาน้ำมันที่ใช้แล้วจากโรงงานเป็นวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว หากขาดแคลนหรือราคาสูงก็จะทำให้ขาดวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล จึงรวมกลุ่มกันช่วยกันคิดและหันมาปลูกดอกทานตะวันเพื่อนำมาหีบน้ำมันผลิต เป็นไบโอดีเซล ซึ่งนอกจากจะได้น้ำมันแล้วยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมอาชีพด้วยและดอก ทานตะวันจำนวนมากยังช่วยให้หมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วยและที่นี่ยัง มีโครงการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกหลายอย่างเลยทีเดียว เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำบาดาลขึ้นมาผลิตเป็นน้ำดื่มขายในหมู่บ้านทำ ให้ชาวบ้านได้ซื้อน้ำดื่มในราคาที่ถูกลง ปกติน้ำดื่มทั่วไปจะขายถังละ 12 บาท (มีน้ำปริมาณ 20 ลิตร) แต่หลังจากทางหมู่บ้านใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำบาดาลขึ้นมาผลิตเป็นน้ำ ดื่ม สามารถจำหน่ายให้ชาวบ้านได้ในราคาเพียงถังละ 5 บาท ถูกกว่าน้ำดื่มที่ขายทั่ว ๆ ไปเยอะเลย และยังมีเงินจากการจำหน่าย น้ำดื่มเหลือเข้าหมู่บ้านอีกเดือนละ 4,000-5,000 บาท นอกจาก นั้นทางหมู่บ้านเรายังสร้างเตาชีวมวลซึ่งใช้เชื้อเพลิงจากแกลบและ ถ่านไม้ ซึ่งหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์ในงานส่วนรวมทำให้สามารถประหยัดค่าแก๊ส แอลพีจีได้เป็นอย่างดี โดยปกติแล้วหากมีงานภายในหมู่บ้านจะสิ้นเปลืองค่าแก๊สโดยเฉลี่ย 3 ถัง รวมเป็นเงินประมาณ 900 บาท (ถังละ 15 กิโลกรัม) แต่หากทดแทนด้วย การใช้เตาชีวมวลแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 45 บาท คิดค่าแกลบ ประมาณ 30 กิโลกรัม (แกลบราคา 1.5 บาทต่อกิโลกรัม) หรือหากใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านไม้ก็จะเสียเงินซื้อถ่านเพียง 1 กระสอบ ค่าใช้จ่ายเพียง 200 เท่านั้น นอกจากนั้นยังสามารถนำถ่านไม้มาใช้ผลิตเป็นก๊าซเชื้อเพลิงสำหรับรถอีแต๋นและ รถ มอเตอร์ไซค์ได้อีกด้วย

นายอยุธ กล่าวว่าโครงการพลังงานต่าง ๆ ช่วยทำให้พวกเราได้ใช้พลังงานในราคาที่ถูกลงช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าลงได้ เยอะมาก วันนี้พวกเราภูมิใจที่ได้เป็นชุมชนที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายของ ภาครัฐและของประเทศที่ต้องการให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประ สิทธิภาพรู้คุณค่าเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางคณะทำงานผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ต้องขอขอบคุณ กระทรวงพลังงานและสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้มาถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางด้านพลังงานให้แก่ชุมชนแห่งนี้

เห็นความพยายามพึ่งตัวเองของคนในชุมชนบ้านไร่ป่าคา แล้วก็ต้องยกหมู่บ้านแห่งนี้ให้เป็น หมู่บ้าน ที่ประสบความสำเร็จในการใช้พลังงานทดแทนอย่างแท้จริง ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ได้นำพลังงานทดแทนที่ผลิตได้มาใช้ในชีวิต ประจำวัน และหมู่บ้านแห่งนี้ก็เป็นหมู่บ้านพลังงานต้นแบบที่สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนให้แก่ชุมชนอื่น ๆ ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ สามารถใช้พลังงานที่ตนมีอยู่อย่าง มีประสิทธิภาพลบแนวความคิดของชุมชนในด้านการคิดว่าพลังงานเป็นเรื่องไกลตัว ให้กลายเป็นการปลูกจิตสำนึกด้านพลังงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์แนวร่วมในการ อนุรักษ์พลังงาน และก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการหันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างมี ประสิทธิภาพในระดับหมู่บ้านขยายสู่ตำบลและสู่วงกว้างไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับประเทศชาติต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น