วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ ด้วยพลังงานโซลา ร์เซลล์

นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ทีม KU-SRCWIN นำแผงโซลาร์เซลล์มาผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนผ่านระบบแปลงเกษตร อัจฉริยะ

คว้ารางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดในโครงการ M-150 IDEOLOGY 2010 โซลาร์เซลล์เพื่อชุมชนพอเพียง

ทีม KU-SRCWIN เป็นนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย นายฉัตรชัย วงศ์ชนะภัย นายยุวรัตน์ สุขตระกูล นายอัครพงศ์ วงศ์อรุณ นายศราวุธ จันใด นายจุมพล วิชชุกรจิรภัค นาย กระแส เตชะศรินทร์ นายนรินธร คณะมูล นายชูเกียรติ มา ลัยลอย นายสุร กิจ เที่ยงพลับ และนายธนภัทร ทองทรัพย์ โดยมีอาจารย์ทวีชัย อวยพรกชกร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม

โครงงานของทีม KU-SRCWIN เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์มาพัฒนาเพื่อการสาธารณประโยชน์ ของชุมชนโดยลงพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านเก่าค้อ อำเภอคง จังหวัด นครราชสีมา โดยเริ่มจากการสร้างระบบต่าง ๆ รองรับ

อาทิระบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ ก็คือการสร้างบ่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและใช้ทำ การเกษตรกรรม โดยนำเทคโนโลยีไมโคร คอนโทรลเลอร์ เข้ามาใช้ในการควบคุมเปิด- ปิดน้ำที่ใช้รดแปลงผักโดยอัตโนมัติ ซึ่งขั้นตอนการทำงานจะใช้เวลาและเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดินเป็นตัวกำหนด เงื่อนไขการจ่ายน้ำระบบบ่อเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ใช้เทคโนโลยีไมโครคอนโทรลเลอร์ ในการวัดระดับปริมาณน้ำ สำหรับเชื่อมต่อกับระบบสูบน้ำและระบบแสดงผลพลังงาน

นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับโครงการระบายน้ำของทางโรงเรียนเพื่อนำน้ำส่วนที่ เกินจากความต้องการนำมากักเก็บในบ่อไว้ใช้ในยามขาดแคลน และเป็นการผสานประโยชน์ระหว่างโครงการของทางโรงเรียนกับระบบ อีกทั้งน้ำในบ่อน้ำจะสามารถเลี้ยงปลาเพื่อใช้เป็นการเพาะพันธุ์หรือใช้ในการ ประกอบอาหารกลางวันของทางโรงเรียนซึ่งจะมีระบบป้องกันระดับน้ำในบ่อไม่ให้นำ ไปใช้ในส่วนอื่นจนระดับน้ำไม่พอแก่การเลี้ยงปลาอีกด้วย

ส่วนระบบประปาหมู่บ้าน มีการนำไฟฟ้าที่เหลือใช้จากการใช้ไฟฟ้าโครงการหลักมาใช้กับเครื่องสูบน้ำ ขนาด 400 วัตต์จำนวน 2 เครื่อง ให้ทำงานควบคู่กับระบบเดิมของ ทางประปาหมู่บ้าน จะช่วยลดระยะเวลาการทำงานของระบบสูบน้ำหลักคือระบบมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า ซึ่งปกติต้องเสียค่าไฟประมาณ 4,500 บาทต่อเดือน เป็นผลให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานไฟฟ้าของระบบประปาหมู่บ้าน และชาวบ้านจะได้มีน้ำประปาใช้ตลอดวัน

การทำงานมีระบบแสดงผลพลังงาน ซึ่งนำเทคโนโลยีระบบแสดงผลพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการและแสดงผลระดับ น้ำจากแหล่งผลิตน้ำในรูปแบบที่ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้ง่าย

...โครงการนี้นอกจากจะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้ นักเรียนและชาวบ้านมีทัศนคติที่ดีต่อการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าในการมีอยู่อย่างจำกัดของพลังงานและเกิดความภาคภูมิใจ ในพลังงานที่สามารถผลิตได้ด้วยตนเองและยังเป็นแหล่งความรู้ของนักเรียนและ ชุมชนโดยรอบที่สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนของตนเอง ตามความเหมาะสมอีกด้วย..

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=319&contentId=114641&hilight=%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.

พลังงานทดแทนครบวงจรที่ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

กรมวิชาการเกษตรได้ร่วมกับกระทรวงเกษตร ประมงและป่าไม้ ประเทศญี่ปุ่น เร่งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ต้นแบบการบริหารวัตถุดิบเพื่อ พลังงานทดแทนครบวงจรขึ้นในพื้นที่ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ภายใต้ โครงการไบโอแมส ทาวน์ (Biomass Town) โดยมุ่งให้กลุ่มเกษตรกร ชุมชนและท้องถิ่นนำชีวมวลโดยเฉพาะ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน เช่น ไบโอแก๊ส (Biogas) เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและชุมชน รวมทั้งผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และแปรรูปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานและช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

พื้นที่อำเภอนาด้วง เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นชุมชนพลังงานชีวมวลต้นแบบ ซึ่งเดิมเกษตรกรมีการผลิตพืชหลักหลายชนิด อาทิ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ไม้ผล และยางพารา ทั้งยังมีการผลิตปศุสัตว์ในพื้นที่ด้วย โดยแต่ละปีจะมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรค่อนข้างมาก และปัจจุบันเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อปลูกพืชใหม่เพิ่มขึ้น คือ ปาล์มน้ำมัน ประมาณ 5,000-7,000 ไร่ ซึ่งอนาคตกรมวิชาการเกษตรได้มีแผนผลักดันให้ชุมชนนำผลผลิตปาล์มน้ำมันเข้า สู่ระบบการผลิตพลังงานชีวมวลและนำเศษวัสดุที่เหลือมาใช้ประโยชน์และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนด้วย ซึ่งภายในปี 2554 คาดว่า โครงการฯนี้จะสามารถเริ่มขับเคลื่อนได้ทั้งระบบ

ปัจจุบันเกษตรกรมีความตื่นตัวและสนใจเข้าร่วมโครงการฯแล้วกว่า 200-300 ครัวเรือน มีทั้งกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและกลุ่มผู้เลี้ยงสุกร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีแผนเร่งประสานความร่วมมือกับจังหวัดเลย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลและขับเคลื่อนโครงการฯดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นต้นแบบให้ กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป โดยจะเร่งสนับสนุนทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยี พร้อมส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานไบโอดีเซลชุมชน กำลังผลิต 200 ลิตรต่อวัน ทั้งยังจะพัฒนาบุคลากร กลุ่มเกษตรกรเพื่อจัดตั้งกลุ่มพลังงานชีวมวล การวิจัยและพัฒนาต่อยอดเรื่องพลังงานชีวมวล และส่งเสริมการจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อบริหารจัดการศูนย์ต้นแบบฯให้มี ประสิทธิภาพ เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน…

นายมนตรี จำปาศิริ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำนานาด้วง ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย กล่าวว่า นับเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐให้การส่งเสริมด้านพลังงานชีวมวลเพื่อเป็นพลังงาน ทดแทนในชุมชน สำหรับกลุ่มเกษตรกรทำนานาด้วงมีสมาชิกที่จะเข้าร่วมโครงการฯไม่น้อยกว่า 200 ครัวเรือน ซึ่งขณะนี้โครงการฯได้ส่งเสริมให้สมาชิกที่เลี้ยงสุกรสร้างบ่อแก๊สชีวภาพ ขนาดเล็ก (สำหรับสุกร 50 ตัว) เพื่อผลิตก๊าซหุงต้มใช้ภายในครัวเรือน ขณะเดียวกันยังมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในแปลงปลูกพืชผัก ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล ทั้งยังมีการสร้างโรงเพาะเห็ด และยังได้รับการส่งเสริมให้นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์มาก ขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย คาดว่าจะเป็นช่องทางช่วยให้เกษตรกรและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=117211