วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ ด้วยพลังงานโซลา ร์เซลล์

นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ทีม KU-SRCWIN นำแผงโซลาร์เซลล์มาผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนผ่านระบบแปลงเกษตร อัจฉริยะ

คว้ารางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดในโครงการ M-150 IDEOLOGY 2010 โซลาร์เซลล์เพื่อชุมชนพอเพียง

ทีม KU-SRCWIN เป็นนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย นายฉัตรชัย วงศ์ชนะภัย นายยุวรัตน์ สุขตระกูล นายอัครพงศ์ วงศ์อรุณ นายศราวุธ จันใด นายจุมพล วิชชุกรจิรภัค นาย กระแส เตชะศรินทร์ นายนรินธร คณะมูล นายชูเกียรติ มา ลัยลอย นายสุร กิจ เที่ยงพลับ และนายธนภัทร ทองทรัพย์ โดยมีอาจารย์ทวีชัย อวยพรกชกร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม

โครงงานของทีม KU-SRCWIN เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์มาพัฒนาเพื่อการสาธารณประโยชน์ ของชุมชนโดยลงพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านเก่าค้อ อำเภอคง จังหวัด นครราชสีมา โดยเริ่มจากการสร้างระบบต่าง ๆ รองรับ

อาทิระบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ ก็คือการสร้างบ่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและใช้ทำ การเกษตรกรรม โดยนำเทคโนโลยีไมโคร คอนโทรลเลอร์ เข้ามาใช้ในการควบคุมเปิด- ปิดน้ำที่ใช้รดแปลงผักโดยอัตโนมัติ ซึ่งขั้นตอนการทำงานจะใช้เวลาและเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดินเป็นตัวกำหนด เงื่อนไขการจ่ายน้ำระบบบ่อเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ใช้เทคโนโลยีไมโครคอนโทรลเลอร์ ในการวัดระดับปริมาณน้ำ สำหรับเชื่อมต่อกับระบบสูบน้ำและระบบแสดงผลพลังงาน

นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับโครงการระบายน้ำของทางโรงเรียนเพื่อนำน้ำส่วนที่ เกินจากความต้องการนำมากักเก็บในบ่อไว้ใช้ในยามขาดแคลน และเป็นการผสานประโยชน์ระหว่างโครงการของทางโรงเรียนกับระบบ อีกทั้งน้ำในบ่อน้ำจะสามารถเลี้ยงปลาเพื่อใช้เป็นการเพาะพันธุ์หรือใช้ในการ ประกอบอาหารกลางวันของทางโรงเรียนซึ่งจะมีระบบป้องกันระดับน้ำในบ่อไม่ให้นำ ไปใช้ในส่วนอื่นจนระดับน้ำไม่พอแก่การเลี้ยงปลาอีกด้วย

ส่วนระบบประปาหมู่บ้าน มีการนำไฟฟ้าที่เหลือใช้จากการใช้ไฟฟ้าโครงการหลักมาใช้กับเครื่องสูบน้ำ ขนาด 400 วัตต์จำนวน 2 เครื่อง ให้ทำงานควบคู่กับระบบเดิมของ ทางประปาหมู่บ้าน จะช่วยลดระยะเวลาการทำงานของระบบสูบน้ำหลักคือระบบมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า ซึ่งปกติต้องเสียค่าไฟประมาณ 4,500 บาทต่อเดือน เป็นผลให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานไฟฟ้าของระบบประปาหมู่บ้าน และชาวบ้านจะได้มีน้ำประปาใช้ตลอดวัน

การทำงานมีระบบแสดงผลพลังงาน ซึ่งนำเทคโนโลยีระบบแสดงผลพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการและแสดงผลระดับ น้ำจากแหล่งผลิตน้ำในรูปแบบที่ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้ง่าย

...โครงการนี้นอกจากจะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้ นักเรียนและชาวบ้านมีทัศนคติที่ดีต่อการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าในการมีอยู่อย่างจำกัดของพลังงานและเกิดความภาคภูมิใจ ในพลังงานที่สามารถผลิตได้ด้วยตนเองและยังเป็นแหล่งความรู้ของนักเรียนและ ชุมชนโดยรอบที่สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนของตนเอง ตามความเหมาะสมอีกด้วย..

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=319&contentId=114641&hilight=%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น