วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์

บ้านแม่อ้อใน ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นชุมชนหนึ่งในจังหวัดเชียง ใหม่ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประชากรในพื้นที่เป็นชนพื้นเมือง และชนเผ่าต่าง ๆ เช่น เผ่าลีซอ ลาหู่ และไตใหญ่ จำนวนมากกว่า 347 หลังคาเรือน ชุมชนแห่งนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการสร้างระบบก๊าซชีวภาพ เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากกลิ่นของมูลสุกรจำนวนมาก ซึ่งปล่อยก๊าซมีเทน และคาร์ บอนไดออกไซด์ เป็นแก๊สเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม จากมูลหมูไร้ค่า แถมยังส่งกลิ่นให้ในชุมชน ได้ถูกแปรสภาพมาเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ สร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้าน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแก๊สหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนเดือนละหลายร้อยบาท เลยทีเดียว

นายสมศักดิ์ ปวงลังกา ผู้ใหญ่บ้านแม่อ้อใน และยัง เป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุกรเกือบพันตัว เปิดเผยว่า การเลี้ยงสุกร แม้มีรายได้งดงาม แต่ต้องอดทนต่อเสียงต่อว่าของชาวบ้าน เพราะมูลของสุกรส่งกลิ่นรบกวน รวมทั้งยังมีกองทัพแมลงวัน ทำให้เป็นปัญหาใหญ่ ชาวบ้าน 150 ครัวเรือน ได้เข้าร้องเรียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ย้ายฟาร์มหมูออกจากพื้นที่ จึงหาทางออกอยู่นาน ในที่สุดเมื่อได้เดินทางไปร่วมงานสัมมนากับ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2550 และทราบว่า กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้ให้เงินทุนสนับสนุนเงินลงทุนสร้างบ่อก๊าซชีวภาพเพื่อบำบัดน้ำเสีย และผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งนับเป็นโอกาสดี

ผู้ใหญ่บ้านแม่อ้อใน เปิดเผยอีกว่า ต่อมาจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วม “โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์” กับทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้ รับการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างระบบก๊าซชีวภาพ จากทางโครงการฯ จำนวน 241,250 บาท และงบประมาณที่ต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 600,000 บาท รวมเป็นเงิน 841,250 บาท ในการสร้างระบบก๊าซชีวภาพขนาดกลาง 250 ลูกบาศก์เมตร

ซึ่งทำให้ฟาร์มสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ปริมาณ 70-100 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และได้นำมาใช้เป็นก๊าซหุงต้มให้ชาวบ้านได้ใช้กันอย่างถ้วนหน้า รวมจำนวนมากกว่า 100 ครัวเรือน นอกจากนั้น ยังได้นำไปให้ทางวัด และโรงเรียนในหมู่บ้านใช้ด้วย ผลที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านประหยัดค่าก๊าซหุงต้มได้มาก จากเดิมที่แต่ละครัวเรือนเคยซื้อก๊าซหุงต้มใช้เฉลี่ย 160 บาทต่อเดือน แต่หลังจากใช้ก๊าซชีวภาพจากทางฟาร์มทดแทนก๊าซหุงต้ม หลังโครงการประสบผลสำเร็จในฐานะเจ้าของฟาร์มเรียกเก็บค่าบริการ เพื่อนำเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านเพียงแค่เดือนละ 50 บาทต่อเดือน ทำให้ชาวบ้านสามารถประหยัดเงินค่าก๊าซหุงต้มได้ครัวเรือนละ 110 บาทต่อเดือนเท่านั้น รวมแต่ละครัวเรือนประหยัดเงินเฉลี่ยได้มากถึง 1,320 บาทต่อปี ที่สำคัญยังช่วยลดปัญหาการตัดไม้เพื่อนำมาเป็นไม้ฟืนหรือถ่านเพื่อใช้เป็น เชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วย เพราะชุมชนแต่ก่อนต้องเข้าป่าเพื่อตัดไม้มาทำฟืนหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลัว” ใช้หุงหาอาหารในการดำรงชีวิตประจำวันพอตนผลิตก๊าซชีวภาพนี้ขึ้นมา ชาวบ้านก็เลิกเข้าไปตัดไม้ในป่า และหันมาเข้าร่วมโครงการทุกหลังคาเรือน ปัญหาการทำลายป่าก็หมดไป

นายสมศักดิ์ กล่าวย้ำว่า ทุกวันนี้ภูมิใจที่ได้ช่วยให้ชุมชนได้มีแหล่งพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนใช้ ที่สำคัญระบบก๊าซชีวภาพที่สร้างขึ้น ยังช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งเกิดจากปัญหากลิ่นเหม็นได้เป็นอย่างดี ส่งผลที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ที่สำคัญยังช่วยลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้

“จากมูลสุกรไร้ค่าส่งกลิ่นเหม็นเป็นที่รังเกียจของทุกคนกลายมาเป็นก๊าซ ชีวภาพนำมาใช้ประโยชน์ได้ในการหุงต้มเป็นพลังทางเลือกใหม่ทดแทนพลังงานที่ ต้องซื้อมาใช้ในราคาแพง โครงการนี้สร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย แก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชา ชนในชุมชนที่ต้องทนเหม็นกลิ่นขี้หมูทุกวัน ช่วยประหยัดเงินใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัว ลดปัญหาโลกร้อน แก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ชาวบ้านในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โครงการดี ๆ อย่างนี้ควรได้รับการสนับสนุนและนำไปใช้ในอีกหลายชุมชนของประเทศไทยครับ” นายสมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentID=60766

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น